ประวัติความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน
การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสำคัญมาก
ขึ้นเป็นลำดับเครือข่าคอมพิวตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย
ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก
ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง
ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ"อินเทอร์เน็ต"(Internet)
จัดว่าเป็น
เครือข่ายที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน
อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบ
คลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ตสามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด
ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูปแบบและมีผู้นิยมใช้
้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน
จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้วปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น
อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย
จำนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4
ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า
อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด
มีการขยายตัวสูงที่สุด
และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน
พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่ายที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี
ประวัติความเป็นมาและมีการ
พัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512ก่อนที่จะก่อตัวเป็น
อินเทอร์เน็ตจนกระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet
) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced
Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโห
ของสหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต
ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัยด้านการทหารและ
โดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุคสงครามเย็นระหว่างค่าย
คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ
สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย
สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นำ
กลุ่มเสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนาเทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่
ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่คอมพิวเตอร์ส่วน
ใหญ่จะแยกกันทำงานโดยอิสระมีเพียงบางระบบที่ตั้งอยู่ใกล้กันเท่านั้นที่สื่อ
สารกันทางอิเล็กทรอนิกส์แต่ก็ด้วยความเร็วต่ำ
ห้องปฏิบัติการหลายแห่งได้พัฒนาระบบสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ให้มี ประสิทธิภาพ
ยิ่งขึ้น หากแต่ยังไม่สามารถนำมาเปรียบเทียบได้กับเทคโนโลยีการสื่อสารที่มีใช้อยู่ใน
ปัจจุบัน ปัญหาและ อุปสรรคสำคัญ
คือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมเข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายจะต้องอยู่ใน
สภาพทำงานทุกเครื่องหากเครื่องใดเครื่องหนึ่งหยุดทำงานลง
การสื่อสารจะไม่สามารถดำเนินต่อไปได้จนกว่าจะตัดเครื่องออกไปจาก
เครือข่ายข้อจำกัดนี้ทำให้ระบบเครือข่ายไม่อยู่ในสภาพที่เชื่อถือได้และ
ลำบากต่อการควบคุมดูแล โครงการอาร์พาเน็ต
อาร์พาเป็นหน่วยงานย่อยของกระทรวงกลาโหมของสหรัฐ ฯ
ทำหน้าที่สนับสนุนงานวิจัยพื้นฐานทั้งด้านเทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ อาร์พาไม่ได้ทำหน้าที่วิจัยโดยตรงอีกทั้งยังไม่มีห้องทดลอง
เป็นของตนเอง หากแต่กำหนดหัวข้องานวิจัยและให้ทุนแก่หน่วยงานอื่น
ซึ่งส่วนใหญ่เป็นมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนที่ทำงานวิจัยและพัฒนา
อาร์พาได้จัดสรรทุนวิจัยเพื่อทดลองสร้างเครือข่ายให้คอมพิวเตอร์สามารถแลก
เปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ในชื่อโครงการ"อาร์พาเน็ต" ( ARPAnet
) โดยเริ่มต้นงานวิจัยในเดือนมกราคม พ.ศ. 2512
รูปแบบเครือข่ายอาร์พาเน็ตไม่ได้ต่อเชื่อมโฮสต์ ( Host ) คอมพิวเตอร์เข้าถึงกันโดย
ตรง หากแต่ใช้คอมพิวเตอร์ เรียกว่าIMP ( Interface Message Processors ) ต่อเชื่อมถึงกันทางสาย โทรศัพท์เพื่อทำหน้าที่ด้านสื่อสารโดยเฉพาะ
ซึ่งแต่ละIMP สามารถเชื่อมได้หลายโฮสต์
ประวัติความเป็นมาของอินเทอเน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย
หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network
) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก
"ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC
) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม
ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้
E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530
โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก
และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา
ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร
ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP
โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น )
ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง
โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน
ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- มหาวิทยาลัยมหิดล
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
เดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ
นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail
Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail
โดยยังคงอาศัยสถาบัน
เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information
Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน
ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสงเพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร
ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที
จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท
ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร
จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่
เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์
และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn
: Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ
"ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว
64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ
เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ
ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร
ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC
ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ
นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น
และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ
มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค-
-โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร
โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร
คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภายในเป็นของตัว
เองมาขอใช้บริการได้
แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก
ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้
ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณอุดหนุนจากรัฐภาย
ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้เครือข่ายได้
ประโยชน์และโทษของอินเตอร์เน็ต
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ต
ตามที่กล่าวมาแล้วว่า อินเตอร์เน็ต
คือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่ครอบคลุม ไปทั่วโลก พร้อมกับมีข้อมูลมหาศาล ทุกประเภท
ให้เราค้นคว้า และรับส่งข้อมูล ไปมาระหว่างกันได้ ในตอนนี้ จะขอยกตัวอย่างประโยชน์
ของการใช้งานอินเตอร์เน็ต ด้านต่าง ๆ ให้เห็นพอสังเขป
. ในด้านการศึกษา เราต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตเพื่อค้นคว้าหาข้อมูลได้
ไม่ว่าจะเป็น ข้อมูลทางวิชาการจากที่ต่าง ๆ ซึ่งในกรณีนี้ อินเตอร์เน็ต
จะทำหน้าที่เหมือนห้องสมุด ขนาดยักษ์ ส่งข้อมูลที่เราต้องการ
มาให้ถึงบนจอคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือที่ทำงานของเรา ไม่กี่วินาทีจากแหล่งข้อมูลทั่วโลก
ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม ศิลปกรรม สังคมศาสตร์ กฎหมายและอื่นๆ
อีกส่วนที่เกี่ยวข้องกันก็คือ ประโยชน์การรับส่งข่าวสาร
ผู้ใช้ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต สามารถรับส่งจดหมายอิเล็กตรอนิกส์ หรือ E-mail
กับผู้ใช้คนอื่นๆ ทั่วโลก ในเวลาอันรวดเร็ว ได้โดยค่าใช้จ่ายต่ำมาก
นอกจากนี้ ยังอาจส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น แฟ้มข้อมูล รูปภาพ
ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ที่เป็นภาพและเสียง ได้อีกด้วย
สำหรับด้านธุรกิจและการค้า ช่วยในการซื้อขายสินค้าผ่านคอมพิวเตอร์
เราสามารถเลือกดูสินค้า พร้อมคุณสมบัติผ่านจอคอมพิวเตอร์ของเรา และสั่งซื้อ
และจ่ายเงินด้วย บัตรเครดิตได้ทันที ซึ่งนับว่าเป็นความสะดวกสบาย และรวดเร็วมาก
สินค้ามีจำหน่าย ทุกประเภท เหมือนห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ เลยทีเดียว
นอกจากนี้ ผู้ใช้ ที่เป็นบริษัท หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ
หรือ สนับสนุน ลูกค้าของตน ผ่านอินเตอร์เน็ต เช่น การตอบคำถาม หรือข้อสงสัยต่าง ๆ
ให้คำแนะนำ รวมถึงข่าวสารใหม่ๆแก่ลูกค้าได้
ประโยชน์อินเตอร์เน็ต ที่ผู้ใช้กันมากที่สุดอีกอย่างหนึ่ง คือ
ความบันเทิง และการ พักผ่อนหย่อนใจ หรือสันทนาการ เช่น เลือกอ่านวารสารต่างๆ
ผ่านอินเตอร์เน็ต ที่เรียกว่า magazine แบบ online รวมถึงหนังสือพิมพ์ และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบบนจอคอมพิวเตอร์
เหมือนกับหนังสือ ปกติที่เราดูอยู่กันทุกวัน
โทษของอินเตอร์เน็ต
โรคติดอินเทอเน็ต(Webaholic)
อินเตอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ?
หากการเล่นอินเตอร์เน็ต ทำให้คุณเสียงาน หรือแม้แต่ทำลาย
นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม
ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496 คน
โดยเปรียบเทียบ กับบรรทัดฐาน ซึ่งใช้ในการจัดว่า ผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนัน
การติดการพนันประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้น มีลักษณะคล้ายคลึงกับ การติดอินเตอร์เน็ต
เพราะทั้งสองอย่าง เกี่ยวข้องกับการล้มเหลว ในการควบคุมความต้องการของตนเอง
โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด) คำว่า อินเตอร์เน็ต
ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่น AmericaOn-line,
Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems)
และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
อย่างน้อย 4 อย่าง เป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ต
รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์
ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ต
ที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน 3 ข้อในช่วงเวลา 1 ปี ถือว่ายังเป็นปกติ จากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คน เป็นผู้ที่เรียกได้ว่า
"ติดอินเตอร์เน็ต" ในขณะที่อีก 100
คนยังนับเป็นปกติ ประกอบด้วยเพศชาย และเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ สำหรับผู้ที่จัดว่า "ติดอินเตอร์เน็ต"
นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ต
อย่างหนักเหมือนกับ การเล่นการพนัน ความผิดปกติในการกินอาหาร หรือสุราเรื้อรัง
มีผล กระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น
ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น
การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า
ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ต ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ
เรื่องอณาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent
Content)
เรื่องของข้อมูลต่างๆที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร
หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็น เรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเทอเน็ต
แต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนา
มากนักทำให้ไม่มีภาพออกมา แต่ในปัจจุบันภายเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเทอเน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็ก
และเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่
เพราะว่าอินเทอเน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สือ่เหล่านี้สามรถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา
ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้
รู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต
มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น
ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้
รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้
ใช้อินเตอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น
หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง
การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ์
ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก
มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต
ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้
ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต
และระเบิดเวลา
ไวรัส :
เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ
เพื่อที่จะทำลายข้อมูล
หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ
ม้าโทรจัน
: ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้
แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จ โปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆกัน
คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์
มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ
และสิ่งที่มันทำนั้น ไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก
มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง
ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง
ระเบิดเวลา
: คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ
ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น
ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542
การประยุกต์ใช้อินเตอร์เน็ต
เราสามารถนำระบบเครือข่าย
Internet มาประยุกต์ใช้กับการนิเทศการศึกษาได้หลากหลายและเกือบจะนับว่า
Internet มีความจำเป็นอย่างยิ่งในระบบการศึกษาปัจจุบัน
และในอนาคต ทั้งนี้จะเห็นได้จากสถาบันการศึกษาเกือบทุกสถาบัน ทั้งในระดับอุดมศึกษา
มัธยมศึกษา หรือแม้แต่ประถมศึกษา ได้มีการนำเทคโนโลยี Internet มาใช้ประกอบการเรียนการสอน
และนำมาเป็นเครื่องมือในการค้นคว้าหาความรู้สำหรับครู-อาจารย์ มากขึ้นโดยลำดับ
บางสถาบัน ได้กำหนดให้มีการลงทะเบียนเรียน แจ้งผลการเรียน
หรือแม้กระทั่งเรียนผ่านทาง Internet แล้ว
ขณะนี้โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา ส่วนใหญ่สามารถที่จะเชื่อมต่อใช้งานInternet
ได้แล้วจากโครงการ SchoolNet และเพิ่มขึ้นเรื่อย
ๆ ดังนั้น การนิเทศการศึกษาจึงไม่ควรจำกัดเฉพาะการนิเทศโดยตรงเท่านั้น
การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้กับการนิเทศการศึกษา จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การนิเทศการศึกษาขยายขอบข่ายได้กว้างขวางขึ้น
การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้ในการนิเทศ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น
การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้กับการนิเทศการศึกษา จึงเป็นนวัตกรรมใหม่ที่จะทำให้การนิเทศการศึกษาขยายขอบข่ายได้กว้างขวางขึ้น
การนำเทคโนโลยี Internet มาประยุกต์ใช้ในการนิเทศ อาจทำได้หลายรูปแบบ เช่น
1. การสร้าง Web
page เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารการนิเทศ
และข้อมูลเทคนิคเกี่ยวกับการเรียนการสอนต่าง ๆ 2. การใช้ E-mail
สำหรับตอบปัญหาในด้านการจัดการเรียนการสอนของครู-อาจารย์และนักเรียน
3. การใช้โปรแกรมที่สามารถติดต่อแบบ Real time เช่น ICQ ตอบปัญหาข้อข้องใจของครู-อาจารย์ และ
นักเรียน หรือใช้สำหรับประชุมทางไกล
4. การสร้างชุดการสอน หรือ CAI บน Internet ในรูปแบบของ Web page
4. การสร้างชุดการสอน หรือ CAI บน Internet ในรูปแบบของ Web page
การสร้าง Web page วิธีการนี้เหมาะสำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่ต้องการเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
หรือเพื่อประโยชน์ด้านใดด้านหนึ่ง ผู้ที่จะสร้าง Web pageได้จะต้องเป็นผู้มีความรู้ทางการเขียนโปรแกรม
ภาษา HTML (Hypertext Markup Languaqe) บ้างพอสมควร ปัจจุบัน
Web page ของไทยที่เกี่ยวข้องกับการศึกษามีอยู่มากมาย เช่น
Web site ของ โรงเรียนต่าง ๆ ในโครงการ SchoolNet
Web site ของกระทรวงศึกษาธิการ , กรมสามัญศึกษา
, หน่วยศึกษานิเทศก์ Web site ของมหาวิทยาลัยต่าง
ๆ หมายเหตุ
Web page หมายถึง หน้าเอกสารแต่ละหน้าที่แสดงผ่านทาง Browser
Home page หมายถึง Web page หน้าแรกของเอกสารที่แสดงผ่านทาง
Browser
Web site หมายถึง ข้อมูลทั้งหมดที่แสดงผ่านทาง Browser
ซึ่งประกอบด้วย Home page
และ Web page ทั้งหมด Web site เหล่านี้ ผู้สร้างสามารถกำหนดให้ผู้ใช้หรือผู้เยี่ยมชม
สามารถสำเนาข้อมูล แฟ้มเอกสาร หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไปใช้งานได้ หรือกำหนดให้ส่ง E-mail ถึงเจ้าของหรือผู้ดูแลระบบได้ทันที
และ Web page ทั้งหมด Web site เหล่านี้ ผู้สร้างสามารถกำหนดให้ผู้ใช้หรือผู้เยี่ยมชม
สามารถสำเนาข้อมูล แฟ้มเอกสาร หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไปใช้งานได้ หรือกำหนดให้ส่ง E-mail ถึงเจ้าของหรือผู้ดูแลระบบได้ทันที
ดังนั้น วิธีการนิเทศในรูปแบบของการใช้ Web
page สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ในกรณีที่ต้องการเผยแพร่เอกสารทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนการสอน
หรือนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้ E-mail กับการนิเทศ ศึกษานิเทศก์ สามารถให้การนิเทศได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม การนิเทศทางอ้อมที่ประหยัด รวดเร็ว ไม่จำกัด
ช่วงเวลา ได้แก่การใช้ E-mail ในการติดต่อสื่อสาร ซี่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่จะประยุกต์นำไปใช้ เพราะ E-mail ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเขียนจดหมายโต้ตอบกันเท่านั้น
แต่ยังสามารถที่จะส่งแฟ้มเอกสาร แฟ้มรูปภาพ และแฟ้ม
ข้อมูล ต่าง ๆ ได้อีกด้วย การใช้โปรแกรมที่ติดต่อกันแบบ
Real time เช่น โปรแกรม ICQ เราสามารถใช้โปรแกรม ICQ
ให้เป็นประโยชน์ต่อการนิเทศก์ ได้ในลักษณะเดียวกับ E-mail
ครู-อาจารย์ หรือนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกันได้ทันที และสามารถสื่อสารพร้อมกันได้หลาย ๆ คน
หรือนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ ได้ E-mail กับการนิเทศ ศึกษานิเทศก์ สามารถให้การนิเทศได้ทั้งทางตรง และทางอ้อม การนิเทศทางอ้อมที่ประหยัด รวดเร็ว ไม่จำกัด
ช่วงเวลา ได้แก่การใช้ E-mail ในการติดต่อสื่อสาร ซี่งขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลที่จะประยุกต์นำไปใช้ เพราะ E-mail ไม่ได้หมายถึงเฉพาะเขียนจดหมายโต้ตอบกันเท่านั้น
แต่ยังสามารถที่จะส่งแฟ้มเอกสาร แฟ้มรูปภาพ และแฟ้ม
ข้อมูล ต่าง ๆ ได้อีกด้วย การใช้โปรแกรมที่ติดต่อกันแบบ
Real time เช่น โปรแกรม ICQ เราสามารถใช้โปรแกรม ICQ
ให้เป็นประโยชน์ต่อการนิเทศก์ ได้ในลักษณะเดียวกับ E-mail
ครู-อาจารย์ หรือนักเรียนที่มีปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอน สามารถที่จะพูดคุยโต้ตอบกันได้ทันที และสามารถสื่อสารพร้อมกันได้หลาย ๆ คน
บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเตอร์เน็ต
1. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือ ละเมิดผู้อื่น
2. ต้องไม่รบกวนการทำงานของผูอื่น
3. ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือ เปิดดูแฟ้มข้อมูลของผูอื่น
4. ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.
ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.
ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.
ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์ โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.
ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.
ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคม ที่เกิดจากการกระทำของท่าน
10.ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ
กติกา และมีมารยาท
หน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
ISP คงเป็นหน่วยงานแรกที่หลายๆ
คนคงคิดถึงเมื่อนึกถึงหัวข้อนี้ รองลงไปก็คงเป็นเนคเทค
ซึ่งก็ถือว่าเป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญต่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย
แต่ก็ยังมีหน่วยงานอื่นอีกหลายหน่วย ดังนี้
การสื่อสารแห่งประเทศไทย ในฐานะผู้ผูกขาดบริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ
ผู้ให้ใบอนุญาต และถอดถอนสิทธิการให้บริการของ ISP รวมทั้งเป็นหุ้นส่วนของ ISP ทุกราย (32%)
รวมทั้งเป็นผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
ISP - Internet Service Providers หรือผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ทั้ง
17 ราย (พ.ย. 2545) ในฐานะผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่บุคคลและองค์กรต่างๆ
ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแบบไม่หวังกำไร เช่น SchoolNet
ที่ให้บริการโรงเรียนต่างๆ ทั่วประเทศ, ThaiSarn ผู้ให้บริการเชิงวิจัยสำหรับสถานศึกษา, UniNet เครือข่ายของทบวงมหาวิทยาลัย,
EdNet เครือข่ายของกระทวงศึกษาธิการ และ GINet เครือข่ายรัฐบาล
THNIC ในฐานะผู้ให้บริการจดทะเบียนชื่อโดเมนสัญชาติไทย
(.th) และผู้ดูและบบบริการสอบถามชื่อโดเมนสัญชาติไทย
ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้การดูแลของ AIT
NECTEC หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ
ในฐานหน่วยงานวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
เทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล และในฐานะผู้ให้บริการจุดแลกเปลี่ยนสัญญาณภายในประเทศ
ผู้ดูแลเครือข่าย Thaisarn, SchoolNet, GINet และในฐานะคณะอนุกรรมการด้านนโยบายอินเทอร์เน็ตสำหรับประเทศไทย
ผู้ให้บริการวงจรสื่อสารภายในประเทศ ซึ่งมีหลายรายเช่น
การสื่อสารแห่งประเทศไทย, บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
และบริษัทเอกชนอื่นๆ
แนวโน้มของอินเทอร์เน็ต
เนื่องจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ขยายกว้างขวางออกไปอย่างรวดเร็ว
โครงสร้างพื้นฐานทางด้านระบบสื่อสารโทรคมนาคม
จึงต้องพัฒนาให้สามารถรองรับได้อย่างเหมะสมกับปริมาณการใช้ข้อมูลข่าวสาร การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
มีการประยุกต์ใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่เสมอ เริ่มแรกจากการรับส่งข้อมูลข่าวสารด้วยตัวหนังสือ
ต่อมาจึงมีการพัฒนาให้ใช้ข้อความ และรูปภาพกราฟิก เมื่อระดับความสามารถของระบบคอมพิวเตอร์ดีขึ้น
คือ สามารถประมวลผล รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และวิดีโอได้เป็นอย่างดี ไมโครคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันจึงเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำงานกับสื่อประสมได้หลายสื่อ
เราเรียกสื่อประสมหลายสื่อนี้ว่า มัลติมีเดีย หากพิจารณาที่เครื่องคอมพิวเตอร์แบบมัลติมีเดียจะพบว่า
คอมพิวเตอร์มีระดับความสามารถของซีพียู ที่คำนวณได้รวดเร็วมากขึ้น มีหน่วยความจำซึ่งเก็บข้อมูลได้มาก
รวมถึงหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง เช่น ฮาร์ดดิสก์ และซีดีรอมที่มีความจุเพิ่มขึ้น การแสดงผล
ก็ได้ภาพที่ละเอียด และมีจำนวนสีมากขึ้นกว่าเดิม ด้วยเหตุนี้ การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
จึงได้รับการพัฒนา เพื่อให้ใช้งานบนระบบเวิลด์ไวด์เว็บที่เก็บข้อมูลข่าวสารในรูปแบบมัลติมีเดีย
คือ มีการเก็บภาพเสียง และข้อมูลแบบวิดีโอ ผู้ใช้สามารถเรียกภาพและวิดีโอเหล่านี้
มาแสดงผลบนเครื่องของตนเองได้
การประยุกต์แบบมัลติมีเดียบนอินเทอร์เน็ตมีมากมาย ตั้งแต่การใช้ในระบบสื่อสารระหว่างกัน เช่น การส่งข้อความและเสียง ในรูปแบบเมล์เสียง (Voice mail) การโต้ตอบพูดคุยผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตโฟน การประชุมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Net Meeting) การประยุกต์ในเรื่องการกระจายสัญญาณบนเครือข่าย เช่น การตั้งสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ และกำลังพัฒนาเป็นเว็บทีวี กล่าวคือ สามารถส่งทีวีไปบนเครือข่าย โดยผู้ชมได้บราวเซอร์เรียกชมได้แนวโน้มของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่น่าสนใจประกอบด้วย
การประยุกต์แบบมัลติมีเดียบนอินเทอร์เน็ตมีมากมาย ตั้งแต่การใช้ในระบบสื่อสารระหว่างกัน เช่น การส่งข้อความและเสียง ในรูปแบบเมล์เสียง (Voice mail) การโต้ตอบพูดคุยผ่านอินเทอร์เน็ตที่เรียกว่า อินเทอร์เน็ตโฟน การประชุมบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Net Meeting) การประยุกต์ในเรื่องการกระจายสัญญาณบนเครือข่าย เช่น การตั้งสถานีวิทยุ สถานีโทรทัศน์ และกำลังพัฒนาเป็นเว็บทีวี กล่าวคือ สามารถส่งทีวีไปบนเครือข่าย โดยผู้ชมได้บราวเซอร์เรียกชมได้แนวโน้มของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่น่าสนใจประกอบด้วย
การปรับปรุงโครงสร้างไอพีรุ่นใหม่
สืบเนื่องจากหมายเลขไอพีเดิมมี ๔ ฟิลด์ เป็นตัวเลขขนาด ๓๒ บิต การขยายตัวของเครือข่ายต้องใช้หมายเลขไอพีมาก
จนมีแนวโน้มว่า รหัสตัวเลขไอพีขนาด ๓๒ บิต ไม่เพียงพอต่อการใช้งาน จึงมีการพัฒนารูปแบบของหมายเลขไอพีใหม่
โดยใช้รหัสตัวเลขขนาด ๑๒๘ บิต ซึ่งจะทำให้สามารถรองรับการขยายตัวของเครือข่ายได้อีกมาก
โครงการอินเทอร์เน็ตทู
อินเทอร์เน็ตทู ( internct 2) เป็นโครงการร่วมของมหาวิทยาลัยในสหรัฐอเมริกาประมาณ
๑๐๐ แห่ง โดยได้รับการสนับสนุนจากบริษัทคอมพิวเตอร์ และระบบสื่อสาร
เข้าร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตรุ่นใหม่ เพื่อรองรับกับกระแสความต้องการใช้ข้อมูลข่าวสารในอนาคต
ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะการสื่อสาร ที่ต้องการข้อมูลข่าวสารปริมาณมาก
เช่น ระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์บนเครือข่ายระบบความจริงเสมือน (VR-Virtual
Reality) ระบบการเรียนการสอนทางไกล (Tele education) การรักษาพยาบาลทางไกล (Telemedicinc) ฯลฯ
ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ
หลายประเทศได้ประกาศให้โครงการทางด่วนข้อมูลสารสนเทศเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ
ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศนี้ เป็นทางร่วมที่ทำให้ใช้ข้อมูลข่าวสารได้เพิ่มมากขึ้นในอนาคต
โดยมีเส้นทางเชื่อมโยงถึงกัน และมีการวางโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อรองรับปริมาณการขยายตัวของเครือข่าย
เช่น ในประเทศไทยมีโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อโรงเรียนไทย โดยมีเป้าหมายที่จะเชื่อมโยงโรงเรียนทุกแห่งในประเทศไทยให้เข้าถึงเครือข่ายนี้
และสามารถใช้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ร่วมกันได้ ทางด่วนข้อมูลสารสนเทศช่วยลดลงช่องว่างระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
หากมีหน่วยงานข้อมูลมากขึ้น โครงสร้างรวมของทางด่วนข้อมูลสารสนเทศ ต้องได้รับการพัฒนาให้สามารถรองรับการใช้งานได้
นอกจากนี้ ทางศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติยังมีโครงการพัฒนาเครือข่าย GI
Net หรือเครือข่ายข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานรัฐบาลไทย ซึ่งเป็นเครือข่ายที่ใช้งานร่วมกัน
เครือข่ายนี้จัดเป็นการสร้างทางด่วนข้อมูลสารสนเทศทางหนึ่ง
การทำธุรกิจบนเครือข่าย
การใช้งานอินเทอร์เนตในเชิงพาณิชย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ทุกวันนี้บริษัทต่างสนใจสร้างโฮมเพจของตนเอง
ไว้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต การทำธุรกิจบนอินเทอร์เนตเริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น ตั้งแต่การค้าร้านขายของเป็นชอปปิ้งมอลล์
จนถึงร้านค้าปลีก โดยมีรายการสินค้าให้เลือกซื้อ แนวโน้มการทำธุรกิจบนเครือข่ายจะเพิ่มมากขึ้น
ตั้งแต่การนำเอาเอกสารเผยแพร่โฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้า การให้บริการข้อมูลข่าวสาร
การสนับสนุนบริการลูกค้าในลักษณะให้คำปรึกษา ตลอดจนการโต้ตอบจดหมาย และแก้ไขปัญหา
เมื่อลูกค้ามีปัญหาให้แก้ไข
สิ่งที่สำคัญ และกำลังได้รับการความสนใจในวงการธุรกิจคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการสร้างระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียก ว่า ดิจิตอลแคช การโอนย้ายเงินระหว่างธนาคาร ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น การทำธุรกิจโดยใช้เครือข่ายเชื่อมโยง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน จะมีบทบาทที่สำคัญต่อไป
สิ่งที่สำคัญ และกำลังได้รับการความสนใจในวงการธุรกิจคือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และการสร้างระบบเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือที่เรียก ว่า ดิจิตอลแคช การโอนย้ายเงินระหว่างธนาคาร ทำให้ลูกค้าซื้อสินค้าได้สะดวกขึ้น การทำธุรกิจโดยใช้เครือข่ายเชื่อมโยง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน จะมีบทบาทที่สำคัญต่อไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น