วันศุกร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ให้เปรียบเทียบคุณสมบัติสำคัญของ cpu รุ่นต่างๆต่อไปนี้


Pentium 4
        Pentium 4 เป็นซีพียูที่ยังคงอยู่ในตระกูล IA-32 คือยังถือว่าเป็นรุ่น 32 บิต เหมือน Pentium III โดยเป็นการนำเอา Pentium III มาปรับปรุงใหม่ทั้งหมดให้ดียิ่งขึ้น และเพิ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้าไป
        Pentium 4 รุ่น Willamette เป็น Pentium 4 รุ่นแรกเริ่ม ผลิตด้วยเทคโนโลยี 0.18 ไมครอน มีจำนวนขามากขึ้นเป็น 423 ขา ซ็อคเก็ตที่ใช้จึงต้องเป็น Socket 423 ที่มีตั้งแต่รุ่นที่ความเร็ว 1.3,1.4,1.5,1.6,1.7,1.8,1.9 และ 2.0 GHz โดยบัสของ Pentium 4 จะทำงานอยู่ที่ 100 MHz (quad-pumped เป็น 400 MHz) ซึ่งเมื่อถูกใช้งานร่วมกับชิปเซ็ต i850 ของ Intel ก็ต้องใช้หน่วยความจำชนิด RDRAM เท่านั้นเพื่อให้มีประสิทธิภาพที่สมบูรณ์ที่สุดแต่ทั้งนี้ผู้ผลิตชิปเซ็ตสำหรับ Pentium 4 ที่รองรับ RAM แบบอื่นๆ เช่น SDRAM และ DDR- SDRAM ด้วยได้แก่ SiS645, SiS605,AliAladdin-P4 และ Intel i845 ส่วน VIA ก็ได้ออกชิปเซ็ตเช่นกัน คือ P4X266 และ P4X266A

       
        Pentium 4 รุ่น Northwood เป็นซีพียูที่พัฒนาต่อมาและได้รับความนิยมสูงสุดผลิตโดยเทคโนโลยี 0.13 ไมครอน ซึ่งทำให้ซีพียูตัวเล็กลงแต่มีจำนวนขามากขึ้น
โดยเปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์แบบ mPGA (micro pin Grid Array) ซึ่งเพิ่มจาก 423 ขาไปเป็น 478 ขา ใช้ไฟเลี้ยงลดลงเป็น 1.3 V และเพิ่มระดับของแคชระดับ 2
เป็น 512 KB ด้วย อย่างไรก็ตามอินเทลได้ออก Pentium 4 Willamette ที่มีขา 478 ขา ออกมาโดยเช่นกัน โดยเริ่มต้นที่รุ่นความเร็ว 2GHz และออกรุ่นย้อน หลังไปถึงรุ่น 1.5 GHz ด้วย Pentium 4 รุ่น Northwood มีรุ่นที่มีความ เร็วเดียวกันกับ Willamette โดยเริ่มต้นที่ 1.6 GHz เรียกเป็นรุ่น 1.6A, 1.8A, 2.0A และ 2.2A
เพื่อให้เห็นถึงความแตกต่าง ส่วนรุ่นอื่นๆ ที่มี ความเร็วสูงขึ้นไปซ้ำกับรุ่นเดิมจึงใช้เลขปกติคือ 2.3 และ 2.4 ต่อมา เมื่อออกรุ่นที่ใช้กับบัส 133 GHz (quad-pumped
เป็น 533 MHz) จึงต้องมีการต่อท้ายอีกคือ 2.4B ซึ่งเป็นรุ่นที่มีความเร็ว 2.4 GHz เช่นกันแต่ใช้กับบัสที่เร็วขึ้น ( ตัวคูณลดลง ) ส่วนรุ่น 2.53 GHz นั้นไม่ซ้ำกับของเดิมอยู่แล้วจึงใช้เป็นชื่อรุ่นได้เลยและรุ่นล่าสุดเป็นรุ่นที่ใช้กับบัส 200GHz (quad-pumped เป็น 800 MHz) ถ้าเป็นตัวเลขความเร็วที่ซ้ำกับความเร็วบัสอื่นจะใช้ตัวอักษร
ต่อท้าย เช่น 2.8C, 2.6C เป็นต้น แต่ถ้าเป็นความเร็วที่ไม่ซ้ำกับความเร็วบัสอื่นก็จะใช้ตัวเลขความเร็วนั้นเลย เช่น 3.0 GHz
       ฮีตซิงค์ ( heat Sink) หรือชุดระบายความร้อนของ Pentium 4 แบบที่ใช้ Socket 423 จะมีฐานยึดติดกับเมนบอร์ดรอบตัวซ็อคเก้ตทะลุลงไปถึงฐานเครื่องหรือ
เคส (Case) แทนการยึดติดกับตัวซ็อคเก็ต จากนั้นจึงติดตั้งฮีตซิงค์ลงไปในฐาน แล้วยึดให้แน่นด้วย คลิป 2 ตัวที่เกาะเกี่ยวอยู่กับฐาน สุดท้ายจึงซ้อนทับด้วยพัดลมอีกทีหนึ่ง

       ในกรณีของ Socket 478 วิธียึดฮีตซิงค์จะเปลี่ยนไปใช้คลิปล็อคที่ทำให้ติดตั้งได้ง่ายกว่าเดิม เพียงแต่ใส่ลงไปแล้วโยกคลิปทั้ง 2 ตังไปอีกด้านหนึ่งเพื่อล็อคเท่านั้น
ดังรูป

  ตารางสรุปซีพียูของอินเทลเฉพาะบางรุ่นที่ยังคงมีใช้งานอยู่ในอดีต - ปัจจุบัน
รุ่นซีพียู
บัส (MHz)
แคช (L1/L2)
ชนิดของซ็อคเก็ต
Celeron II( Willamette )1.7,1.8,2.0, 2.2 GHz
100 (effective =400)
L1=20 KB L2=128KB
Socket 478
Celeron II(Northwood)2.4,2.5,2.6,2.7,2.8, Hz
100 (effective =400)
L1=32 KB L2=128KB
Socket 478
Pentium4(Northwood)2.0A,2.2,2.4,2.5 2.6 GHz

Get 100MB Free Web Hosting atJabry.com

100 (effective =400)
L1=20 KB L2=512KB
Socket 478
Pentium4(Northwood)2.26,2.4B,2.53,2.66,2.8,3.06 GHz
133 (effective =533)
L1=20 KB L2=512KB
Socket 478
Pentium4(Northwood)2.4C,2.6,2.8C,3,3.2,3.4,3.6 GHz
200 (effective =800)
L1=20 KBL2=512KB
Socket 478
Pentium4 EE(Northwood) 3.2,3.4 GHz
200 (effective =800)
L1=512 KB L2=2MB
Socket 478
Pentium4( Prescott )2.8A,2.8E,3E,3.2E,3.4E GHz
(A ใช้ 133)200 (effective =800)
L1=28 KB L2=1MB
Socket 478 ช่วง หลังจะใช้ LGA 775
         ช่วงครึ่งหลังของปี 2543 ตอนที่อินเทลออกซีพียู Pentium 4 ถือได้ว่าเป็นการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมไปมากพอสมควร และเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญมากสำหรับ
อินเทลเนื่องจาก Pentium III ไม่สามารถรถเร่งความเร็วขึ้นไปได้อีกแล้ว โดยสิ้นสุดอยู่ที่ 1.2 GHz เว้นเสียแต่ว่าลดขนาดการผลิตลงเหลือ 0.1 ไมครอน ก็จะยืดอายุต่อไป
ได้อีกหน่อย แต่ก็ไม่นานนักและก็ได้สิ้นสุดไปแล้ว ในขณะที่ Pentium 4 นั้นอินเทลบอกว่าสถาปัตยกรรมใหม่สามารถเร่งความเร็วขึ้นไปได้ มากมายไม่ต่ำกว่า 4 GHz
เลยทีเดียว โดยเริ่มต้นด้ายการออก Pentium 4 ตัวแรกที่ความเร็ว 1.4 และ 1.5 GHz และต่อมาเมื่อลดเมื่อลดขนาดการผลิตลงไปที่ 0.13 ไมครอน ก็สามารถเพิ่มความ
เร็วขึ้นไปถึง 2.4 – 2.8 GHz เลยทีเดียว
          สถาปัตยกรรมใหม่นี้ อินเทลใช้ชื่อเรียกโดยรวมว่า “NetBurst” และบอกว่าเป็นสถาปัตยกรรมสำหรับอนาคต นอกจากนี้ก็ยังได้มีการนำเอาเทคโนโลยีใหม่ที่มีชื่อว่า Hyper Threading ซึ่งช่วยให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วขึ้นเหมือนกับมีซีพียู 2 ตัวช่วยกันทำงานเข้ามาใช้ซีพียูรุ่นใหม่ๆ ต่อมาเนื่องด้วยสถาปัตยกรรมแบบใหม่ของ
อินเทลและเทคโนโลยีใหม่ที่นำมาใช้นี้ทำให้มีการพัฒนาความเร็วซีพียูที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ โดยมี Pentium 4 ความเร็ว 1.7, 1.8, 1.9 และ 2.0 GHz ออกมาในปี 2544
และ 2.2, 2.4, 2.53, 2.8, 3.0 ,3.06, 3.2, 3.4, 3.6 GHz ออกมาเรื่อยๆในปีต่อๆมาจนถึงปัจจุบัน 

Intel Core2 Duo
           Intel Core 2 Duo Mobile Processor สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบโน้ตบุ๊กถูกออกแบบให้ทำงานร่วมกับชิปเซตล่าสุดตระกูล 945 Express จาก Intel ถูกผลิตขึ้นภายใต้เทคโนโลยีขนาด 65 mm สนับสนุนการทำงานของ Front Side Bus ขนาด 533 และ 677 MHz มีคุณลักษณะการทำงานที่น่าสนใจดังนี้
• เป็นซีพียูแบบ Duo Core ที่ถูกออกแบบสำหรับติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ได้รับการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพอย่างเหมาะสมเมื่อเทียบกับรุ่นที่ใช้กับเครื่องเดสก์ท้อป
• เป็นสถาปัตยกรรม 64 บิตของ Intel
• สนับสนุนสถาปัตยกรรมเดิมที่มีอยู่แล้วของ Intel รวมทั้งระบบการทำงาน Dynamic Execution
• ติดตั้งหน่วยความจำ Cache ระดับ L1 ทั้งชนิดที่ใช้กับคำสั่งและข้อมูลอย่างละ 34 KB บนแม่พิมพ์ (Die) เดียวกัน ทำงานแบบ Primary (มีลำดับความสำคัญในการทำงานสูงกว่า)
• ติดตั้งหน่วยความจำ Cache ระดับ L2 ขนาด 4 MB ชนิดที่ถูกแบ่งใช้งานโดย Core ทั้งสอง และสถาปัตยกรรมแบบ Advanced Transfer Cache
• ติดตั้งระบบ Prefetch Logic (ระบบการเตรียมเข้าหาคำสั่งหรือข้อมูลแบบล่วงหน้า)
• สนับสนุนการทำงานของ SIMD Extension 2 (SSE2) และ Streaming SIMD Extension 3 (SSE3) รวมทั้ง Supplement Streaming SIMD Extension 3 (SSE3)
• สามารถรองรับระบบ Front Side Bus ขนาด 533 และ 667 MHz
• มีระบบการบริหารจัดการพลังงานที่ล้ำหน้า รวมทั้งเทคโนโลยี SpeedStep ที่ล้ำหน้าเช่นกัน
• สามารถเข้าสู่สถานะ Enhanced Deeper Sleep Modeรวมทั้งระบบการแบ่งใช้งาน Cache ให้กับ Core ทั้งสองอย่างมีประสิทธิภาพ
• ติดตั้งระบบตรวจสอบความร้อนแบบดิจิทัล
• ติดตั้งบนตัวถังแบบ Micro-FCPGA และ Micro-FCBGA
• ใช้เทคโนโลยี Virtualization ของ Intel

Quad Core 
            โปรเซสเซอร์ สำหรับเดสก์ท็อปพีซีที่ออกแบบมาให้จัดการกับการใช้งานคำนวณในปริมาณมากและการทำงานด้านภาพ ด้วยเทคโนโลยีี Multi-core ที่ทรงพลัง มอบแบนด์วิดธ์ที่คุณต้องการสำหรับแอพพลิเคชั่นแบบมัลติเธรด Intel Core 2 Quad โปรเซสเซอร์สร้างขึ้นบน 45nm Intel® Core™ microarchitecture จึงให้ประสบการณ์การใช้งานเดสก์ท็อปพีซีและเวิร์กสเตชั่นที่เร็วกว่า เย็นกว่า และเงียบกว่า ด้วยสี่แกนหลักสำหรับการประมวลผล, L2 Cache ที่ใช้ร่วมกันสูงถึง 12MB¹ และ 1333 MHz Front Side Bus, Intel Core 2 Quad เดสก์ท็อปโปรเซสเซอร์จึงมอบประสิทธิภาพการทำงานและสมรรถนะด้านการใช้พลังงานที่น่าทึ่ง ด้วยวงจรที่ใช้พื้นฐาน Hafnium ใหม่ทั้งหมดของ 45nm Intel Core microarchitecture

Core i3
          เทคโนโลยีใหม่ที่มีคือ integrated graphics คือการใส่ชิปกราฟฟิค(การ์ดจอ) ไว้ในตัว CPU ช่วยเรื่องการประมวลผลภาพทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ(เกมส์)32nm technology เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดความร้อน ประหยัดไฟมากขึ้นintel smart cache ช่วยเก็บชุดคำสั่งต่างๆ ได้มากขึ้นเข้าถึงชุดคำสั่งได้เร็วขึ้น ช่วยเรื่องการประมวลผลของ CPUintel Hyper-Threading เป็นการจำลองแกนของ CPU เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2 เท่า เช่น 2 หรือ 4 แกน ช่วยในการประมวลผลของ CPU และทำให้การทำงานของโปรแกรมเร็วขึ้นCore i3 เหมาะสำหรับคนที่ชอบดูหนังความละเอียดระดับ HDเล่นเกมออนไลน์ ใช้ออฟฟิส ท่องอินเตอร์เน็ต

Core i5
 เทคโนโลยีใหม่ที่มีคือintegrated graphics คือการใส่ชิปกราฟฟิค(การ์ดจอ) ไว้ในตัว CPU ช่วยเรื่องการประมวลผลภาพทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ(เกมส์)32nm technology เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดความร้อน ประหยัดไฟมากขึ้นintel smart cache ช่วยเก็บชุดคำสั่งต่างๆ ได้มากขึ้นเข้าถึงชุดคำสั่งได้เร็วขึ้น ช่วยเรื่องการประมวลผลของ CPUintel Hyper-Threading เป็นการจำลองแกนของ CPU เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2 เท่า เช่น 2 หรือ 4 แกน ช่วยในการประมวลผลของ CPU และทำให้การทำงานของโปรแกรมเร็วขึ้นintel Turbo boost Technology เป็นการเพิ่มความเร็วของสัญญาณนาฬิกาตามความต้องการของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่

Core i7
เทคโนโลยีใหม่ที่มีคือ 
integrated graphics คือการใส่ชิปกราฟฟิค(การ์ดจอ) ไว้ในตัว CPU ช่วยเรื่องการประมวลผลภาพทั้งแบบ 2 มิติและ 3 มิติ(เกมส์)32nm technology เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดความร้อน ประหยัดไฟมากขึ้นintel smart cache ช่วยเก็บชุดคำสั่งต่างๆ ได้มากขึ้นเข้าถึงชุดคำสั่งได้เร็วขึ้น ช่วยเรื่องการประมวลผลของ CPU intel Hyper-Threading เป็นการจำลองแกนของ CPU เพิ่มขึ้นอีกอย่างน้อย 2 เท่า เช่น 2 หรือ 4 แกน ช่วยในการประมวลผลของ CPU และทำให้การทำงานของโปรแกรมเร็วขึ้น intel Turbo boost Technology เป็นการเพิ่มความเร็วของสัญญาณนาฬิกาตามความต้องการของโปรแกรมที่ใช้งานอยู่
Greater Cache เพิ่มขนาดของแคชที่ใช้เก็บชุดคำสั่งให้มากขึ้น เพิ่มความเร็วในการประมวลผลของ CPU Higner clockspeed เป็นการเร่งสัญญาณ นาฬิกาให้สูงมากๆ จากที่กำหนด โดยจะต้องพึ่ง turbo boost Overclockkable (เฉพาะรุ่น Extreme Edition) เป็นการเพิ่มความเร็วของสัญญาณนาฬิกาตามความต้องการของผู้ใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น