วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 15 การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

บทที่ 15 การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น
การสื่อสารผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเบื้องต้น

โปรแกรม Outlook Express เป็นโปรแกรม E-mail Client ซึ่งใช้รับ-ส่ง E-mail ที่มีการทำงานในลักษณะที่เรียกว่า off-line คือ โปรแกรม Outlook Express จะไม่ได้เชื่อมต่อกับ Mail Server อยู่ตลอดเวลา แต่เมื่อเวลาที่เราต้องการรับ หรือส่ง E-Mail โปรแกรม Outlook Express จะทำการเชื่อมต่อไปที่ Mail Server ที่เราได้ตั้งค่าไว้ แล้วดึงข้อมูลมา หรือส่งข้อมูลไปให้เราโดยอัตโนมัติ ทำให้เราประหยัดเวลาในการเชื่อมต่อกับ Mail Serverนอกจากคุณสมบัติตามที่ได้กล่าวมาแล้ว โปรแกรม Outlook Express ยังเป็นโปรแกรมที่เพิ่มความสะดวกในการใช้รับ-ส่ง E-mail โดยทำให้ง่ายต่อการ อ่าน mail และง่ายต่อการดูแฟ้มข้อมูลที่ถูก attach มา และการ attach แฟ้มข้อมูลหรือ แฟ้มรูปภาพไปให้ผู้อื่นทาง E-mail ก็สามารถทำได้โดยง่ายเช่นกันสำหรับการ การเข้าสู่โปรแกรม Outlook Express สามารถทำได้โดยเลือกที่ Start menu -> Programs -> Outlook Express โดยเมื่อเข้ามาในโปรแกรม Outlook Express แล้วลักษณะหน้าจอและส่วนประกอบของโปรแกรม จะมีลักษณะดังนี้


ตามรูป ทางด้านบนสุดของโปรแกรมจะเป็นเมนู ด้านล่างถัดลงมาจะเป็น Toolbar ซึ่งจะมีคำสั่งสำคัญๆ ที่เราเรียกใช้บ่อยๆ จะ อยู่ในบริเวณนี้ ถัดลงมาถึงตัวโปรแกรมจะมีหน้าต่างอยู่ 3 หน้าต่าง ทางด้านซ้ายมือสุดจะเป็นหน้าต่าง Folder ซื่งเอาไว้ใช้เก็บ E-mail ของเรา ทางด้านขวามือจะมีหน้าต่างอยู่ 2 หน้าต่าง ด้านบนจะแสดง list ของจดหมาย ส่วนด้านล่างจะเป็นที่แสดง เนื้อความในจดหมายแบบร่าง(Preview Mode)ในส่วนของ Folder นั้นเปรียบเสมือนตู้ไปรษณีที่เราใช้เก็บจดหมายซึ่ง เป็นส่วนที่เราจะต้องใช้งานด้วยมากที่สุด ดังนั้นเราจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Folder ในแต่ละแบบให้ดี โดยความหมายของ Folder ในแต่ละแบบ มีดังต่อไปนี้
·Inboxใช้เก็บจดหมายที่ผู้อื่นส่งมาให้เรา
·Outboxใช้เก็บจดหมายที่เราส่งไปให้ผู้อื่นแต่ยังไม่ได้ถูกส่งไปที่MailServer
·Senditemsใช้เก็บจดหมายที่เราส่งไปให้ผู้อื่นและถูกส่งไปยังMailServerแล้ว
· Deleted Items ใช้เก็บจดหมายที่ถูกเราลบไปแล้ว เผื่อว่าเราต้องการจะนำกลับมาใช้อีก เหมือนกับกล่อง RecycleBin
· Drafts ใช้เก็บจดหมายที่ถูกเราร่างเอาไว้แล้วยังตกแต่งไม่เสร็จ แต่ต้องการเก็บเอาไว้ส่งในโอกาสอื่

บทที่ 14 การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

บทที่ 14 การใช้งานเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
การใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

การใช้งานอินเทอร์เน็ต จะใช้หลักการแบบผู้ขอใช้บริการ และผู้ให้บริการ หรือที่เรียกว่า แบบไคลแอนด์-เซิร์ฟเวอร์ หมายความว่า ผู้ที่เชื่อมต่อบนอินเทอร์เน็ต จะมีทั้งผู้ให้บริการที่เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ และผู้ขอใช้บริการที่เรียกว่า ไคลแอนต์ ตัวอย่างเช่น  สมศักดิ์สมัครเป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ตของบริษัท สมศักดิ์มีพีซีต่อเข้าสู่เครือข่าย ทางบริษัทเปิดเครื่องหลักให้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ บนเครื่องหลักของบริษัท จะทำหน้าที่บริการอิเล็กทรอนิกส์เมล์ โดยมีตู้จดหมายอยู่ สมศักดิ์สามารถใช้พีซีที่ทำงานแบบไคลแอดต์ ไปเปิดตู้จดหมาย ที่ให้บริการบนอิเล็กทรอนิกส์เมล์เซิร์ฟเวอร์ได้

การบริการทุกอย่างจึงใช้หลักการที่มีสถานีผู้ให้บริการ และสถานีผู้ขอใช้บริการ ข้อดีคือ มีสถานีผู้ให้บริการบนอินเทอร์เน็ตมากมาย และเชื่อมต่อถึงกัน มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างสถานีผู้ให้บริการกันอย่างอัตโนมัติ ซึ่งทำให้ข้อมูลเคลื่อนย้ายไปยังที่ต่างๆ เช่น การส่งจดหมายจะกระทำอย่างต่อเนื่อง และอัตโนมัติ



บริการบนอินเทอร์เน็ต
การใช้หลักการแบบไคแอนต์-เซิร์ฟเวอร์ ทำให้อินเทอร์เน็ต มีการให้บริการต่างๆ มากมาย ผู้ใช้บริการสามารถเรียกใช้บริการเหล่านี้ จากระยะไกลได้ เครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเครือข่าย ที่ไม่ขึ้นกับระยะทาง แม้ว่าผู้ใช้บริการจะอยู่คนละซีกโลก ก็เหมือนอยู่ใกล้กัน และมีระบบการทำงานเป็นแบบโลกาภิวัฒน์ คือ สามารถติดต่อถึงกันได้ทั่วโลก

การให้บริการอินเทอร์เน็ตที่ใช้กันมากในขณะนี้ประกอบด้วย
การบริการอิเล็กทรอนิกส์เมล์
ผู้ใช้แต่ละคนที่เป็นสมาชิกอินเทอร์เน็ต จะได้รับบัญชีรายชื่อของตนเอง และมีที่เก็บอิเล็กทรอนิกส์เมล์ไว้ที่เครื่องบริการ เครื่องบริการจะเปิดตู้จดหมายให้ผู้ใช้บริการที่เรียกว่า เมล์บ็อกซ์ เมื่อมีผู้ส่งจดหมายมา จดหมายจะถูกเก็บไว้ที่สถานีบริการที่ผู้ใช้มีเมล์บ็อกซ์อยู่ เมล์บ็อกซ์นี้จะเก็บจดหมายเอาไว้ รอจนกระทั่งผู้เป็นเจ้าของเมล์บ็อกซ์มาขอให้บริการเซิร์ฟเวอร์ และเปิดตู้จดหมายหรือเมล์บ็อกซ์ เพื่อนำจดหมายออกไปอ่าน ในทำนองเดียวกัน ถ้าต้องการส่งจดหมาย ก็เขียนจดหมาย แล้วฝากสถานีนำส่งให้ สถานีบริการก็จะหาเส้นทางและส่งไปจนถึงปลายทางและไปเก็บไว้ในตู้จดหมายของผู้รับปลายทาง การรับส่งจดหมายจะกระทำอย่างอัตโนมัติบนเครือข่าย และกระทำอย่างรวดเร็ว

การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูล
การบริการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลเรียกว่า FTP คำว่า FTP มาจากคำว่า File Transfer Protocol การให้บริการนี้หมายถึง สถานีบริการ FTP อาจเป็นขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง ที่มีการนำข้อมูลมาเก็บไว้ ข้อมูลเหล่านี้อาจเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นเอกสาร หรือแฟ้มข้อมูลอื่นใดก็ได้ สถานีบริการนี้จะดูแลแฟ้ม และให้บริการผู้เรียกใช้ ผู้เรียกใช้จากที่ห่างไกลบนเครือข่ายสามารถติดต่อเข้าไป เพื่อขอคัดลอกแฟ้มที่ต้องการมาใช้งานได้

การโอนย้ายข้อมูลด้วย FTP นี้ ยังสามารถนำข้อมูลของผู้ใช้ที่มีอยู่โอนย้ายไปให้ผู้อื่น หรือนำไปไว้ในเครื่องบริการ ที่ต่ออยู่บนอินเทอร์เน็ตที่อื่น ซึ่งผู้ใช้มีสิทธิในการใช้

การให้บริการข่าว
ข่าวในความหมายนี้คือ การสร้างกระดานข่าวไว้ในสถานีบริการ โดยให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเข้ามาเปิดดูข่าวสารได้ กลุ่มข่าวนี้เป็นเหมือนกระดานที่ใครมีข่าวก็นำมาติดไว้ โดยมีการแยกข่าวออกเป็นกลุ่มต่างๆ ปัจจุบันมีกลุ่มข่าวประมาณ ๑๐,๐๐๐ กลุ่ม เช่น กลุ่มข่าวเกี่ยวกับคนไทย และเมืองไทย (soc.culture.thai) ใครมีข่าวเกี่ยวกับเมืองไทยก็นำมาติดไว้บนกระดานนี้ได้ ส่วนของสถานีบริการข่าวที่มีทั่วโลก ก็จะกระจายข่าวถึงกันเองอย่างอัตโนมัติ เช่น ที่องค์กรของเรา มีสถานีบริการข่าวนี้ สมาชิกองค์กรอ่านข่าวได้ โดยการขอให้บริการจากเครื่องนี้ แต่เมื่อมีการเสนอข่าวลงบนกระดานข่าว เราก็กระจายข่าวที่บรรจุใหม่จากเซิร์ฟเวอร์ต่อไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่นๆ ทั่วโลก การให้บริการข่าวนี้เชื่อมโยงกันทั้งเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เมื่อมีใครเสนอข่าวในเครือข่าย ข่าวนั้นจะกระจายออกไปทั่วทุกสถานีบริการข่าวบนอินเทอร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ทุกตัวบนอินเทอร์เน็ตจะรับส่งข่าวสารกันเองอย่างอัตโนมัติ

สถานีบริการ IRC
IRC มาจากคำว่า Internet Relay Chat คือ สถานีบริการเพื่อเชื่อมโยงผู้ใช้บริการจำนวนมากให้เข้ามาพูดคุย หรือถกปัญหาพร้อมกันได้หลายคน สถานีบริการ IRC ทำให้ผู้ใช้ที่อยู่ห่างไกลกัน สามารถทำงาน เสมือนนั่งประชุมอยู่บนโต๊ะกลมตัวเดียวกัน การพูดคุยสนทนาในกลุ่มมีลักษณะเป็นการป้อนข้อความ ข้อความที่ป้อน จะไปปรากฏบนหน้าจอของผู้ใช้บริการทุกคน ที่อยู่ในวงสนทนาเดียวกัน

WAIS - Wide Area Information Service
บริษัทชั้นนำทางคอมพิวเตอร์หลายบริษัทได้ร่วมกันพัฒนาระบบ WAIS และนำออกมาใช้ประโยชน์บนอินเทอร์เน็ต ลักษณะของ WAIS เป็นการรวมศูนย์ข้อมูลที่อยู่บนเครือข่ายจำนวนมากเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้ผู้ใช้สะดวกในการค้นหาข้อมูลข่าวสาร เนื่องจากว่า บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีฐานข้อมูลหลายแห่งกระจัดกระจาย หากผู้ค้นข้อมูลต้องแยกค้นไปยังฐานข้อมูลต่างๆ จะทำให้ไม่สะดวก การดำเนินการของ WAIS จึงเป็นการทำให้ผู้ใช้เห็นฐานข้อมูลแห่งเดียว และเมื่อต้องการได้ข้อมูลที่ใด ก็จะเข้าไปค้นยังฐานข้อมูลนี้โดยอัตโนมัติ การใช้งาน WAIS บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจึงเป็นเรื่องที่สะดวก ปัจจุบันมี WAIS ให้เรียกค้นหลายที่ เช่น บนเครื่อง think.com นอกจากนี้ ยังมีการพัฒนาให้เรียกค้นด้วยระบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสได้หลายแบบตามลักษณะเครื่องไคลแอนต์ของผู้ใช้งานซึ่งกำลังใช้งานอยู่

อาร์ชี (Archie)
ปัญหาในเรื่องของการเก็บแฟ้มข้อมูลไว้บนเครื่องต่างๆ ที่อยู่บนเครื่องข่ายอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากคือ ผู้ใช้ไม่สามารถเรียกค้นข้อมูลได้ว่า อยู่ที่เครื่องใดบ้าง อาร์ชีเป็นระบบที่พัฒนาขึ้น โดยสร้างระบบการเรียกค้นข้อมูล ได้ทั้งแบบออฟไลน์ และแบบออนไลน์ โดยเน้นการค้นหาฐานข้อมูล ที่จะให้เข้าไปคัดลอกด้วย FTP ได้ สถาปัตยกรรมของอาร์ชีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต แสดงให้เห็นดังรูป
ผู้ใช้จะใช้อาร์ชีเป็นเครื่องไคลแอนต์ เรียกเข้าไปยังเครื่องบริการอาร์ชี เพื่อค้นหาข้อมูลที่ตนเองต้องการว่า เก็บไว้ที่สถานที่ใด โดยปกติการเก็บข้อมูลจะกระจัดกระจาย แต่รวบรวมชื่อไฟล์และสถานที่เก็บไว้ จึงทำให้ผู้ใช้เรียกค้นได้ เสมือนเป็นการเปิดไดเร็กทอรีดูก่อนว่า ข้อมูลที่ต้องการอยู่ที่ใด จากนั้นจึงเรียกค้นไปยังสถานที่ที่ต้องการ เพื่อทำการคัดลอกด้วย FTP ต่อไป

โกเฟอร์ (Gopher)
โกเฟอร์เป็นระบบที่ได้รับการพัฒนาขึ้น โดยมหาวิทยาลัยมินเนโซต้า เพื่อให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลเป็นลำดับขั้น ตามเมนูที่กำหนด ฐานข้อมูลที่จะเรียกค้น เป็นฐานข้อมูลแบบกระจายที่เชื่อมต่อกัน การเรียกจากเมนู ทำให้การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์มีลักษณะเป็นลำดับ ฐานข้อมูลแต่ละเครื่องบนเครือข่ายจะเชื่อมต่อเข้าหากัน เช่น ถ้าจะเรียกข้อมูลเกี่ยวกับประเทศไทย ก็เชื่อมต่อมาที่เครื่องหลักเครื่องใดเครื่องหนึ่งในประเทศ จากนั้นจะกระจายไปยังฐานข้อมูล และคิดว่า ข้อมูลของตน จะเป็นประโยชน์ ก็สามารถสร้างระบบเชื่อมโยงเข้าสู่โกเฟอร์ เพื่อให้ผู้อื่นเรียกใช้ได้
ระบบโกเฟอร์มีจุดอ่อนที่เป็นการเรียกค้นข้อมูลแบบเอกสาร จึงทำให้ความนิยมลดลงไปมาก ทั้งนี้เพราะระบบบริการข้อมูลข่าวสารแบบใหม่ สามารถให้บริการได้ทั้งรูปภาพ เสียง และภาคเคลื่อนไหวที่ดีกว่า

ระบบข่าวสารเวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)
ประมาณปี พ.ศ. ๒๕๓๔ มีการพัฒนาระบบการเชื่อมโยงข่าวสารแบบไฮเปอร์เทกซ์บนเครือข่าย ส่วนของไฮเปอร์เทกซ์เป็นเอกสาร ที่เชื่อมโยงกันได้ทั่วทั้งเครือข่าย จึงเรียกระบบสารเชื่อมโยงข้อมูลข่าวสารนี้ว่า WWW (World Wide Web) ระบบข่าวสาร WWW เป็นระบบข่าวสารที่มีประโยชน์มาก มีการใช้กันอย่างกว้างขวาง และเป็นที่นิยมของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

หากย้อนกลับไปในอดีต ความคิดในเรื่องไฮเปอร์เท็กซ์มีมานานแล้ว โดยเฉพาะในสมัยที่บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ สร้างเครื่องแมคอินทอช และระบบกราฟิกยูสเซอร์อินเทอร์เฟส (GUI) บริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์ได้สร้างรูปแบบของการเก็บข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ไว้ ระบบการเก็บข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ จึงเป็นที่รู้จักกันดีในกลุ่มผู้ใช้เครื่องแอปเปิลแมคอินทอช
เมื่ออินเทอร์เน็ตแพร่หลาย ความคิดในการทำไฮเปอร์เท็กซ์มาประยุกต์บนเครือข่าย ก็เริ่มเป็นรูปร่าง โดยมีการพัฒนากลไกขึ้นมา ๓ ส่วน ส่วนแรกคือ ตัวเนื้อหา หรือข้อมูล ซึ่งก็คือ ตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่รวมรูปภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหวไว้ หรือมีลักษณะเป็นแบบมัลติมีเดีย หนังสืออิเล็กทรอนิกส์นี้มีลักษณะเฉพาะตามมาตรฐานที่กำหนด โดยเน้นการผลิตตัวหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่แยกออกไป การจัดรูปแบบหนังสือใช้มาตรฐาน HTML ส่วนที่สองคือ ส่วนจัดการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และเชื่อมโยงบนเครือข่าย ซึ่งได้มีการกำหนดโปรโตคอลพิเศษ สำหรับการเชื่อมโยงบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เรียกว่า โปรโตคอล http (hypertext transfer protocol) โปรโตคอลนี้มีลักษณะทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนที่สามคือ เครื่องเปิดอ่านหนังสือ หรือที่เรียกว่า บราวเซอร์ (browser) เครื่องเปิดอ่านหนังสือจะเชื่อมโยงเข้าสู่เครือข่ายตามโปตโตคอลที่กำหนด และเชื่อมโยงเพื่อนำข้อมูลหนังสือ (ไฮเปอร์เท็กซ์) มาแสดงผลบราวเซอร์สามารถแสดงผลแบบมัลติมีเดียได้ เมื่อรวมทั้ง ๓ ส่วนนี้เข้าด้วยกัน จึงกลายมาเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมากมาย เราเรียกระบบข่าวสารที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW)
HTML เป็นคำย่อมาจาก HyperText Markup Language เป็นมาตรฐานสำหรับไฮเปอร์เท็กซ์ที่ใช้ใน www มาตรฐานนี้ทำให้ผู้สร้างไฮเปอร์เท็กซ์สามารถสร้างเองได้ง่าย โดยสร้างข้อมูลเป็นแฟ้มเอกสาร และใช้ตัวกำหนดเอกสารที่เรียกว่า แท็ก (tag) แท็กที่ใช้มีรูปแบบที่เข้าใจได้ง่าย การใส่แท็กก็เหมือนกับการกำหนดขนาดตัวอักษรในเวิร์ดโปรเซสเซอร์สมัยแรกๆ HTML เป็นมาตรฐานที่พัฒนากันขึ้นมาใช้บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และมีผู้นิยมใช้กันมาก จนปัจจุบันโฮมเพจของแต่ละแห่ง ที่ปรากฏบน www เขียนโดยใช้มาตรฐาน HTML ข้อดีของ HTML คือ สามารถเชื่อมโยงข้อความ รูปภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และสิ่งต่างๆเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเชื่อมโยงแฟ้มไฮเปอร์เท็กซ์จากที่ห่างไกลบนเครือข่ายได้อีกด้วย
HTTP เป็นโปรโตคอลการเชื่อมโยงไฮเปอร์เท็กซ์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โปรโตคอลนี้ทำงานอยู่บน TCP/IP เพื่อเชื่อมต่อไปยังปลายทางที่ต้องการ การเชื่อมโยงเข้าหาเอกสารจะดำเนินการอย่างอัตโนมัติ ซึ่งจะติดต่อกันระหว่างเครื่องและเครื่อง เพื่อรับส่งข้อมูล การรับส่งข้อมูลจะรับและส่งได้ทั้งแฟ้มที่เป็นข้อความ รูปภาพ หรือเสียง พื้นฐานการทำงานภายในโปรโตคอลนี้ยังคงใช้หลักการคัดลอกแฟ้มข้อมูล การโต้ตอบกันจะกระทำได้อย่างมีระบบ การเชื่อมต่อด้วยโปรโตคอลนี้จึงให้การเชื่อมโยงหรือเรียกเอกสารที่อยู่ห่างไกลเชื่อมโยงกันเสมือนเป็นเอกสารชิ้นเดียวกันได้ รูปแบบการใช้จึงต้องกำหนดตำแหน่งหลายทาง เช่น http://www.nectec.or.th
บราวเซอร์ เป็นโปรแกรมที่ใช้อ่านข้อมูลไฮเปอร์เท็กซ์ตามมาตรฐาน HTML บราวเซอร์อ่านข้อมูลไฮเปอร์เท็กซ์ เพื่อแสดงผล ข้อมูลที่อ่านได้นำมารวมกันเสมือนเป็นเครื่องเปิดหนังสือ และนำแฟ้มต่างๆ มารวมกันเป็นภาพ ซึ่งมีทั้งแฟ้มรูปภาพ เสียง และวิดีโอ การรวมแฟ้มให้ปรากฏบนจอภาพ จึงได้ผลลัพธ์เป็นหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ระบบหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นวิธีการผลิต ที่ไม่ต้องใช้กระดาษ และสามารถผลิตได้ง่าย ผู้ออกแบบจึงต้องทำให้บราวเซอร์สามารถใช้งานได้ง่าย โดยเป็นโปรแกรมที่ประยุกต์ใช้กับการเรียกใช้เปิดอ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เมล์ ใช้สำหรับการคัดลอกข้อมูลแบบ FTP ใช้ในการอ่านข่าวยูสเน็ตนิวส์
ข่าวสารบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
องค์กรแต่ละองค์กรมีสถานีบริการ สำหรับให้ข่าวสาร การเขียนข่าวสารเก็บไว้ในสถานีบริการ จึงแพร่ขยายเชื่อมโยงกันทั่วโลก ข้อมูลข่าวสารถูกเก็บอยู่ในรูปแบบที่เรียกว่า โฮมเพจ โฮมเพจจึงเป็นเสมือนบ้านในอินเทอร์เน็ต ที่เก็บข่าวสารเอาไว้ เพื่อให้บริการผู้เรียกใช้ ซึ่งเป็นผู้ใดก็ได้ ผู้เขียนโฮมเพจของแต่ละหน่วยงาน มักเขียนให้มีการเชื่อมโยงไปยังที่อื่น เพื่อโยงเอกสารข้อมูลต่างๆ ออกไป เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้กระจายออกไปได้ โดยไม่รู้จบ การเชื่อมโยงเหล่านี้ จึงเป็นเสมือนเส้นทางที่สลับซับซ้อนกระจายออกไปได้มาก เช่น จากโฮมเพจ www.nectec.or.th มีจุดเชื่อมโยงไปยังที่ต่างๆ อีกมากมาย
ด้วยวิธีการเชื่อมโยงบน www จึงเป็นหนทาง ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้อย่างต่อเนื่อง เสมือนแหล่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์บนเครือข่ายทั้งหมด เป็นของผู้ใช้ ที่จะเรียกค้นดูได้
การค้นข้อมูลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เนื่องจากมีแหล่งหนังสืออิเล็กทรอนิกส์เชื่อมโยงบนเครือข่าย www อยู่มากมาย จนยากที่จะหาสิ่งที่ต้องการได้ว่า อยู่ในโฮมเพจใด จึงต้องใช้เครื่องมือช่วยค้น เครื่องมือช่วยค้นเป็นซอฟต์แวร์ ที่ให้บริการบนสถานีบริการต่างๆ เช่น สถานีบริการ www.bdg.co.th สามารถให้ผู้ใช้ใส่คำสำคัญ ที่ต้องการค้นหา หรือค้นหาตามรายการ ที่กำหนดให้ เครื่องมือช่วยค้นหามีหลายแห่ง
การสร้างห้องสมุดเทียมบนเครือข่าย ทำให้สามารถเรียกค้นข้อมูลได้ง่าย และช่วยในการรวบรวมข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้มาก

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 13 ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


บทที่ 13 ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ประวัติความเป็นมา 
- อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้ง เมื่อประมาณ ปีค.ศ.1960(พ.ศ.2503) และได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
- ค.ศ.1969(พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่างและในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่ง เข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบ โดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหาร เครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- ค.ศ.1983(พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986(พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูล แบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูล ของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น
- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง ค.ศ.1980(พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก


- ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า ไอที (IT) กำลังได้รับ ความสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)จะเป็นตัวที่ทำให้ เกิดความรู้ วิธีการประมวลผล การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล การเรียกใช้ข้อมูล ตลอดจนการเรียกใช้ข้อมูล ด้วยวิธีการทางอิเล็คทรอนิคส์ เมื่อเราให้ความสำคัญกับเ ทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ความจำเป็นที่จะต้องมีเครื่องมือในการใช้งานไอที เครื่องมือนั้นก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ สื่อสารโทรคมนาคม อินเตอร์เน็ตนับว่าเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) หรือไอที เพราะเราสามารถที่จะใช้งาน หาข้อมูลข่าวสาร และเข้าถึงข้อมูล ได้ด้วยเวลาอันรวดเร็ว อินเตอร์เน็ตเปรียบเสมือนห้องสมุดขนาดใหญ่ที่มีข้อมูลเรื่องราวต่างๆ มากมาย ให้เราค้นหา ข่าวสารที่ทันสมัย ทันต่อเหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลกเราสามารถที่จะทราบได้ทันที จึงนับได้ว่า อินเตอร์เน็ตนั้นเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ทั้งในระดับองค์กรและในระดับบุคคล  
telnet 
เครื่องมือพื้นฐาน ที่ใช้สำหรับติดต่อกับเครื่อง Server ที่เป็น UNIX หรือ LINUX เพื่อใช้เข้าไปควบคุม การทำงานของเครื่อง หรือใช้อ่าน mail หรือใช้ปรับปรุง homepage หรือใช้เรียกโปรแกรมประมวลผลใด ๆ หรือใช้พัฒนาโปรแกรมและใช้งานในเครื่องนั้น เป็นต้น เพราะระบบ UNIX หรือ LINUX จะยอมให้ผู้ใช้สร้าง application ด้วย Compiler ภาษาต่าง ๆ ได้อย่างอิสระ และเชื่อมต่อกับ Internet ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะ Internet เริ่มต้นมาจากระบบ UNIX นี้เอง
ประโยชน์อย่างหนึ่งที่ผู้ใช้โปรแกรม Telnet มักคุ้นเคย คือการใช้โปรแกรม PINE ซึ่งมีอยู่ใน Telnet สำหรับรับ-ส่ง mail และมีผู้ใช้อีกมากที่ไม่รู้ตัว ว่าตนเองกำลังใช้งาน UNIX อยู่ ทั้ง ๆ ที่ใช้ PINE ติดต่องานอยู่ทุกวัน เดิมที่ระบบ UNIX ไม่มีโปรแกรม PINE แต่มีนักศึกษาที่มหาวิทยาลัย WASHINGTON University เพราะใช้ง่ายกว่าการใช้คำสั่ง mail ในการรับ-ส่งมาก
แต่ผู้ใช้ที่ใช้ E-Mail กับเครื่อง UNIX หรือ LINUX ซึ่งใช้ตามมาตรฐาน IMAP มักเป็นกลุ่มนักศึกษา ในมหาวิทยาลัย ที่มหาวิทยาลัยได้ให้บริการ E-Mail ซึ่งมีข้อจำกัดบางประการ และหลายมหาวิทยาลัย เช่นกันที่ทำฐานข้อมูล Mail ใน UNIX และให้บริการ Mail ผ่าน browser ได้ ซึ่งเป็นหลักการที่ผู้ให้บริการ mail ฟรีหลายแห่งใช้กันอยู่
สำหรับโปรแกรม Telnet ผู้ต้องการใช้บริการ ไม่จำเป็นต้องไป download เพราะเครื่องที่ทำการติดตั้ง TCP/IP จะติดตั้งโปรแกรม telnet.exe ไว้ในห้อง c:\windows เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเรียกใช้ได้อยู่แล้ว แต่ ปัญหาหนักอยู่ที่วิธีการใช้ เพราะระบบ UNIX เป็นการทำงานใน Text mode เป็นหลัก การจะใช้คำสั่งต่าง ๆ ผู้ใช้จะต้องเรียนรู้มาก่อน จึงจะใช้งานได้ในระดับที่พึ่งตนเองได้ มิเช่นนั้นก็จะเหมือน คนตาบอดเดินอยู่ กลางถนน หากใช้คำสั่งไม่ถูกต้อง อาจทำให้เกิดปัญหาทั้งกับตนเอง และระบบได้ภาพ mailtel.gif


Electronic mail 
บริการ E-Mail ฟรี เป็นบริการที่มีผู้ใช้กันมาก เพราะใช้สำหรับส่ง และอ่านข้อความ กับผู้ที่ต้องการติดต่อด้วย และใช้แทนจดหมายได้อย่างดี เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย และผู้รับจะได้รับในเวลาเกือบทันทีที่ส่งไป ผู้ใหับริการ E-Mail ฟรีในปัจจุบัน เช่นของ hotmail หรือ yahoo mail หรือ ตามแต่ละประเทศ ที่คนในประเทศจะทำ Server ให้บริการ สำหรับกลุ่มที่มีความสนใจคล้าย ๆ กัน เช่น thaimail.com หรือ chaiyo.com ซึ่งเป็นของคนไทย และ mail ฟรีเหล่านี้จะให้บริการไปเรื่อย ๆ ไม่มีการหมดอายุ แต่จะหมดอายุถ้าผู้ใช้เกิดเลิกใช้เป็นเวลานานเกินไป สำหรับ E-Mail ของสถาบัน จะหมดอายุแน่นอน หลักจากที่สำเร็จการศึกษา จึงเป็นจุดบกพร่องข้อใหญ่ ที่ทำให้นักศึกษา หันไปใช้ E-Mail ฟรี มากกว่าที่สถาบัน จัดไว้ให้
การใช้ E-Mail กับผู้ให้บริการฟรี เช่น thaimail.com, lampang.net, thaiall.com หรือ chaiyo.com นั้น ผู้ใช้จะต้องไป download โปรแกรม browser เช่น netscape หรือ Internet Explorer หรือ Opera หรือ NeoPlanet มาไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต่อ Internet แล้วเปิดหน้าเว็บของแหล่งบริการ เพื่อใช้บริการ E-Mail ดังกล่าว ซึ่งผู้ใช้จะต้องขอใช้บริการ และจะได้รับ userid และ password ประจำตัว เพื่อ login เข้าใช้บริการ E-Mail ทุกครั้ง
ปัจจุบันการขอใช้บริการ E-Mail สามารถเลือกได้ที่จะใช้ web-based หรือ POP เพราะแต่ละแบบมีจุดเด่น จุดด้อยที่แตกต่างกัน โดย web-based จะเหมาะกับผู้ที่เดินทางเป็นประจำ ส่วน pop จะเหมาะกับผู้มีคอมพิวเตอร์ส่วนตัว
รายละเอียดเกี่ยวกับ e-mail อ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.thaiall.com/article/mail.htm



USENET news หรือ News group 
ในยุคแรกของ Internet บริการ USENET ได้มีผู้ใช้บริการ อย่างแพร่หลายอย่างมาก เพราะเป็นแหล่ง ที่ผู้ใช้ จะส่งคำถามเข้าไป และผู้ใช้คนอื่น ๆ ที่พอจะตอบคำถามได้ จะช่วยตอบ ทำให้เกิดสังคมของ การแลกเปลี่ยนข่าวสาร นอกจากการส่งข้อความเข้าไปใน USENET แล้ว ผู้ใช้ยังส่งแฟ้มในรูปแบบใด ๆ เข้าไปก็ได้ ซึ่งเรียกว่า Attach file หากแฟ้มที่ส่งเข้าไปเป็นภาพ gif หรือ jpg หรือแฟ้มที่มีการรองรับ ในระบบ internet ก็จะเปิดได้ทันทีด้วย browser หรือแล้วแต่โปรแกรมที่ใช้เปิด USENET นั้น
แต่สำหรับประเทศไทย ผมสังเกตุว่า มีการเข้าไปใช้บริการในส่วนนี้ไม่มาก เพราะกลุ่มข่าว(News group) ที่ชื่อ soc.culture.thai ซึ่งเป็น 1 ในหลายหมื่นกลุ่มข่าว และมีชื่อที่เป็นไทยอย่างชัดเจน กลับมีคนต่างชาติ เข้าไปฝากข้อความไว้กว่าครึ่ง และมีคนไทยเพียงครึ่งเดียว ซึ่งเข้าใจว่าผู้ใช้ Internet ในประเทศไทยมักเน้นการใช้บริการ Internet 3 อย่างนี้ คือ Browser และ PIRC และ ICQ
อีกเหตุผลหนึ่ง ที่คนไทยไม่ได้เข้าไปใช้บริการ USENET เท่าที่ควรก็เพราะ ในเว็บของคนไทยหลาย ๆ เว็บจะให้บริการที่ชื่อว่า wwwboard ผ่าน browser อยู่แล้ว ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับ USENET อย่างมาก ทำให้คนไทยหันมาใช้ wwwboard แทน USENET ซึ่งต้องติดตั้งข้อกำหนดเพิ่มเติมให้กับ browser ซึ่งอาจรู้สึกยุ่งยาก ไม่รู้ หรือไม่คุ้นเคยก็เป็นได้ และปัจจุบันบริการต่าง ๆ มักจะรวมมาไว้ใน browser อย่างสมบูรณ์ ทำให้ผู้ใช้มากมาย ไม่เห็นความจำเป็นที่ต้องไปใช้โปรแกรมอื่น เพราะทุกวันนี้ก็ใช้บริการ ที่อยู่ใน browser ไม่หมดแล้ว เช่น web, mail, chat, wwwboard, game, quiz, pager, news, postcard, shopping, download เป็นต้น
ถ้าเครื่องท่านถูก setup ให้อ่าน news ได้ ท่านสามารถเข้าไปที่ soc.culture.thai เพื่ออ่าน หรือส่งข่าวสาร ต่าง ๆ ได้
FTP (File Transfer Protocal - บริการโอนย้ายข้อมูล) 
บริการนี้ สามารถใช้ download แฟ้มผ่าน browser ได้เพราะการ download คือ การคัดลอกโปรแกรมจาก server มาไว้ในเครื่องของตน แต่ถ้าจะ upload แฟ้ม ซึ่งหมายถึง การส่งแฟ้มจากเครื่องของตน เข้าไปเก็บใน server เช่นการปรับปรุง homepage ให้ทันสมัย ซึ่ง homepage ของตนถูกจัดเก็บใน server ที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่ง จะต้องใช้โปรแกรมอื่น เพื่อส่งแฟ้มเข้าไปใน server เช่นโปรแกรม cuteftp หรือ wsftp หรือ ftp ของ windows
การ download นั้นไม่ยาก หากผู้ให้บริการยอมให้ใครก็ได้เข้าไป download แฟ้มใน server ของตน และผู้ใช้บริการรู้ว่าแฟ้มที่ต้องการนั้นอยู่ที่ใด แต่การ upload มักไม่ง่าย เพราะต้องใช้โปรแกรมเป็น และมีความเป็นเจ้าของในเนื้อที่ที่จะกระทำ รวมทั้งมี userid และ password เพื่อแสดงสิทธิในการเข้าใช้บริการ การศึกษาการส่งแฟ้มเข้าไปใน server อาจต้องหา บทเรียน ftp มาอ่านเพื่อศึกษาวิธีการส่ง หรือหาอ่านได้จาก เว็บที่ให้บริการ upload แฟ้ม ซึ่งมักเขียนไว้ละเอียดดีอยู่แล้ว
WWW
• World Wide Web คือบริการที่ให้ผู้ใช้ ใช้โปรแกรม Browser เช่น Netscape, Internet Explorer, Opera หรือ Neoplanet เป็นต้น ในการเปิดข้อมูลในลักษณะ Homepage ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง ทำให้มีการแพร่หลาย และเป็นสื่อที่ได้รับความสนใจ และเติบโตอย่างรวดเร็ว
บริการผ่านเว็บนี้ ได้รับการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อในลักษณะ Interactive ด้วยโปรแกรมสนับสนุนต่าง ๆ จนทำให้ผู้ใช้สามารถใช้งานได้หลากหลาย ตัวอย่างเช่น การดูภาพยนต์ ผ่านเว็บ, การเล่นเกมส์, การทำข้อสอบ, การส่ง mail, การส่ง pager, การติดต่อซื้อขาย, การส่ง postcard เป็นต้น
Net2Phone 
บริการนี้คือการโทรศัพท์จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่องรับโทรศัพท์จริง ๆ และได้รับความนิยม เป็นอย่างมาก เพราะมีอัตราค่าโทรศัพท์ที่ถูกกว่า และยังมีบริการ Net2Fax ซึ่งให้บริการ Fax เอกสาร
จากคอมพิวเตอร์ไปยังเครื่อง Fax จริง ๆ ซึ่งมีอัตราค่าบริการที่ถูกกว่าเช่นกัน
บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมมาติดตั้ง และจะต้องจ่ายเงินก่อน ซึ่งเป็นการซื้อเวลาล่วงหน้า เมื่อมีการใช้บริการ จึงจะหักค่าใช้บริการจากที่ซื้อไว้
Netmeeting 
เป็นโปรแกรมที่มีชื่อมาก เพราะทำให้คนจากซีกโลกหนึ่ง สามารถติดต่อกับอีกซีกโลก ด้วยเสียงจาก คอมพิวเตอร์ ซึ่งคล้ายโทรศัพท์ แต่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม แต่อย่างใด และโปรแกรมในลักษณะนี้ ยังเพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับ เครื่องรับภาพ digital ดังนั้นคนที่มีโปรแกรมนี้จะคุยกันและ เห็นภาพของแต่ละฝ่าย จึงทำให้การติดต่อมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพิ่มเติม
บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง แต่ปัญหาที่สำคัญในการติดต่อแบบนี้คือเรื่อง ของความเร็ว เพราะการติดต่อด้วยเสียง อาจได้เสียงที่ไม่ชัดเจน หรืออาจขาดหายระหว่างการสนทนา หากความเร็วในการเชื่อมต่อ internet ไม่เร็วพอ และจะเป็นไปไม่ได้ ถ้าจะเพิ่มการรับ-ส่งภาพ แบบ VDO สำหรับเครื่องที่เชื่อมต่อด้วยความเร็วต่ำ
ICQ 
บริการนี้เป็น บริการที่เยี่ยมมาก และได้รับความนิยม เพิ่มขึ้นทุกวัน เพราะผู้ที่มีคอมพิวเตอร์ เป็นของตนเอง และมีโปรแกรม ICQ อยู่ในเครื่อง จะสามารถติดต่อกับเพื่อน ที่ใช้โปรแกรม ICQ อยู่ได้อย่างสะดวก เพราะเมื่อเปิดเครื่อง โปรแกรมนี้จะแสดงสถานะของเครื่องคอมพิวเตอร์ ที่ทำการตรวจสอบไว้ ว่า Online อยู่หรือไม่ เปรียบเสมือนการมี pager ติดคอมพิวเตอร์ไว้ทีเดียว
ได้มีผู้พัฒนาโปรแกรมเสริมอีกมากมาย ให้ ICQ สามารถทำงานได้หลายหลายมากขึ้น และยิ่ง แพร่กระจายได้เร็ว ในกลุ่มหนุ่มสาว ที่ต้องการเพิ่ม เพราะจะแสดงสถานะของ เครื่องเพื่อน เมื่อเปิด คอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถติดต่อได้รวดเร็ว โดยไม่ต้องโทรไปถามบ่อย ๆ ว่าเปิดคอมพิวเตอร์หรือยัง เป็นต้น
บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง และเป็นโปรแกรมที่ download ได้ฟรี
IRC : Internet Relay Chat 
บริการนี้คนไทยทุกวัย ชอบกันมาก โดยเฉพาะโปรแกรม PIRC เพราะทำให้สามารถคุยกับใครก็ได้ที่ใช้ โปรแกรม PIRC การคุยกันจะใช้ผ่านแป้นพิมพ์เป็นสำคัญ โดยไม่ต้องเห็นหน้า หรือรับผิดชอบต่อสิ่ง ที่พิมพ์ออกไป อย่างจริงจัง เพราะไม่มีการควบคุมจากศูนย์ที่ชัดเจน ทำให้ทุกคนมีอิสระที่จะคิดจะส่ง ข้อมูลออกไป ได้ทุกชาติ ทุกภาษา
ใน IRC ใด ๆ มักจะมีการแบ่งเป็นห้อง ๆ โดยมีชื่อห้องบอกว่า ในห้องนั้นจะคุยกันเรื่องอะไร เช่น "วิธีแก้เหงา" หากใครต้องการคุยถึงวิธีแก้เหงา เข้าไปในห้องนั้น หรือหลาย ๆ ห้องได้ และแสดงความเห็น อะไรออกไปก็ได้ และยังสามารถเลือกคุยกับใครเป็นการส่วนตัว หรือจะคุยให้ทุกคน ที่เปิดหัวข้อนี้ รับทราบก็ได้ เมื่อคุยกันถูกคอก็สามารถ ที่จะนัดพบกันตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อนสร้างสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน หรือจะนัดคุยกันในคอมพิวเตอร์ ในครั้งต่อไป ในห้องที่กำหนดขึ้นก็ได้ จึงทำให้ทุกเพศทุกวัยชื่นชอบ ที่จะใช้บริการนี้อย่างมาก
บริการนี้ผู้ใช้ต้องไป download โปรแกรมาติดตั้ง และเป็น Shareware หากผู้ใช้พอใจ สามารถที่จะ ลงทะเบียนเพื่อจ่ายเงิน $20 ได้ 
Game online 
เกมกลยุทธหลาย ๆ เกมที่ โปรแกรมจะจำลองสถานการณ์การรบ ทำให้ผู้ใช้สามารถต่อสู้กับ คอมพิวเตอร์ เสมือนคอมพิวเตอร์คิดเอง และสู้กับเราได้ แต่ก็ยังมีจุดบกพร่องของเกมที่ไม่สามารถสร้าง ความมันส์ เหมือนกับการสู้กับคนที่คิด และพูดกับอีกฝ่ายได้ จึงได้มีการสร้างเกม และบริการที่ทำ ให้ผู้ใช ้ ้ต่อสู้กัน โดยให้ผู้ใช้ติดต่อเข้าไปในเครื่องบริการ แล้วเสียเงินลงทะเบียน จากนั้นจะสามารถขอเข้าไป เล่นเกมกับใครก็ได้ในโลก ที่เสียเงินเช่นกัน และพูดคุยกันผ่านแป้นพิมพ์ เป็นการทำ ความรู้จักกัน ในขณะเล่นเกมได้อีกด้วย ซึ่งเป็นบริการที่กำลังเติมโต อย่างรวดเร็วอีกบริการหนึ่ง ในโลก Internet

Software Updating 
มีโปรแกรมมากมายที่ใช้ประโยชน์จาก Internet และหนึ่งในนั้นก็คือ บริการปรับปรุงโปรแกรม แบบ Online เช่น โปรแกรมฆ่าไวรัส ที่มีชื่อเสียง เกือบทุกโปรแกรม จะยอมให้ผู้ใช้สามารถปรับปรุงข้อมูลใหม่ เพื่อใช้สำหรับเตรียมต่อสู้กับไวรัส ที่มาใหม่เสมอ ผู้ใช้เพียงแต่เลือก Click บนปุ่ม Update จากนั้น โปรแกรมจะทำทุกอย่างใหม่หมด จนกระทั่งการ update สมบูรณ์ หรือแม้แต่ Microsoft Windows ที่ยอมให้ผู้ใช้สามารถ Update โปรแกรมที่ตนขายไปแล้ว แต่มาพบข้อผิดพลาดทีหลัง หลังจากแก้ไข จะยอมให้ผู้ใช้ Update โปรแกรมได้ฟรี เพราะถือเป็นความผิดพลาดที่ต้องรับผิดชอบ เป็นต้น 
Palm หรือ PocketPC 
• Palm หรือ PocketPC นั้นต่างก็เป็น Organizer ยุคใหม่มีอีกชื่อหนึ่งว่า PDA (Personal Digital Assistant) ซึ่งถูกตั้งชื่อโดย Apple ตั้งแต่ปี 1990 แต่สมัยนั้นยังไม่สำเร็จ จึงมีการพัฒนาการเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก ที่มีความสามารถสูงมาก เพราะสามารถพัฒนาโปรแกรม สั่งให้ palm ทำงานได้หลาย ๆ อย่าง ทำให้ความสามารถหลักด้าน organizer กลายเป็นส่วนประกอบไปเลย เพราะมีผู้พัฒนาโปรแกรมให้กับ palm มากทีเดียว คนไทยก็ทำครับ เพื่อให้ palm เข้าใจภาษาไทย และใช้ปากกาเขียนภาษาไทยให้ palm อ่านรู้เรื่องได้ทันที
• Palm สามารถทำงานร่วมกับคอมพิวเตอร์ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน โดยผู้ใช้ palm สามารถเขียน mail ใน palm เพื่อต้องการส่งก็ upload เข้าคอมพิวเตอร์ที่ online กับ internet แล้ว คอมพิวเตอร์ก็จะทำหน้าที่ส่ง mail ให้อัตโนมัติ รวมถึงการรับ mail ใหม่เข้าไปใน palm ทำให้สามารถอ่าน mail จากที่ไหนก็ได้ แต่เป็นการทำงานแบบ offline นะครับ ไม่เหมือนมือถือที่อ่าน mail ได้แบบ online แต่ palm ไม่ใช่มือถือครับ
ภาพทั้งหมดเกี่ยวกับ palm ได้มาจาก http://www.palm.com
PocketPC คืออะไร 
คือ ผลจากที่ปี 1998 Microsoft แนะนำ WindowCE ซึ่งทำงานกับ Palm-sized PC ซึ่งพยายามตี palm ให้แตก ด้วยการสร้างระบบปฏิบัติการ ที่เป็นมาตรฐานใหม่ บริษัทต่าง ๆ ที่สนใจจึงเริ่มผลิตสินค้า ที่ใช้ Windows CE โดยมีชื่อเรียกอุปกรณ์เหล่านี้ว่า PocketPC คอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่กำหนดมาตรฐานโดย Microsoft เจ้าเก่า(งานนี้ palm อาจต้องหนาว) ทำให้ PocketPC ที่ผลิดโดยบริษัทใดก็แล้วแต่ เช่น Compaq, Casio, HP เป็นต้น สามารถเปิดเว็บ พิมพ์ Word หรือ Excel ฟัง MP3 หรือแม้แต่ดูหนัง ก็ยังได้
กองทัพอุปกรณ์เทคโนโลยี จาก casio.com นำทัพโดย PocketPC ที่จะมาโค่น palm
WAP 
• Wireless Application Protocal เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้โทรศัพท์ สามารถเปิดเว็บที่ถูกเขียนมาเพื่อ โทรศัพท์มือถือโดยเฉพาะได้ เว็บของไทยที่ให้บริการแล้ว เช่น http://wap.wopwap.com, http://wap.siam2you.com, http://wap.a-roi.com, http://wap.mweb.co.th เป็นต้น
โทรศัพท์ที่ออกมาให้บริการแล้ว เช่น Nokia7110, Nokia9110i, EricssonR320, EricssonA2618, Alcatel OneTouch View WAP หรือ 300 family หรือ 500 family หรือ 700 family, MotorolaV8088 เป็นต้น
เว็บที่มีข้อมูลเรื่อง wap เช่น wapinsight.com, wap-uk.com, waphq.com, wapjag.com, yourwap.com, waptastic.com เป็นต้น

WAP ย่อมาจากคำว่า Wireless Application Protocal เป็นเทคโนโลยีที่สามารถทำให้โทรศัพท์มือถือ หน้าจอเล็กๆ ของคุณสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้โดยตรง ทำให้คุณสามารถ ทำอะไรได้หลากหลายเสมือนกับคุณใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่าน Browser เลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็น การค้นหาสืบค้นข้อมูล หรือการใช้บริการต่างๆ ของ WAP Site และที่สำคัญที่สุดคือ คุณสามารถทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ทุกที่ทุกเวลาตราบใดที่ยังมีสัญญาณมือถือ หรือสัญญาณ GPRS อยู่นั่นเอง



วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 12 การออกแบบเครือข่าย


การออกแบบเครือข่าย
  เมื่อผู้ออกแบบระบบเครือข่ายมีข้อมูลครบถ้วนสมบูรณ์แล้วนั้นก็สามารถลงมือทำ การออกแบบระบบเครือข่ายได้ โดยในการออกแบบเครือข่ายนั้นอาจทำโดยใช้โปรแกรม คอมพิวเตอร์ช่วยในการวาดและออกแบบได้ เช่น Microsoft Visio
การติดตั้งและพัฒนาระบบ
ในขั้นตอนนี้ผู้ออกแบบระบบเครือข่ายอาจมอบหมายให้ช่างผู้ชำนาญการ ทำการ ติดตั้งได้หรือมอบหมายให้บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเขามาดำเนินการ โดยจะต้องเขาควบคุม ตรวจสอบให้การติดตั้งเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและใช้งานได้อย่างดีตามที่ได้ออกแบบไว้
การวิเคราะห์ความต้องการของระบบเครือข่าย
         1. การศึกษาระบบเครือข่ายเดิม คือ ในการออกแบบระบบเครือข่ายนั้น ผู้ออกแบบจำเป็นต้องรู้ถึงข้อมูลต่างๆ ขององค์กร อาทิเช่น ลักษณะโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ ลักษณะการทำงาน เป็นต้น
         2. การวิเคราะห์ความต้องการจากผู้ใช้งาน เพื่อเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการใช้งานหรือ ความต้องการส่วนบุคคล
         3. การวิเคราะห์ความต้องการขององค์กรจากผู้บริหาร เพื่อเก็บข้อมูลว่าองค์กรมีความต้องการใช้งานระบบเครือข่ายอย่างไร
         4. การวิเคราะห์ความต้องการด้านเทคโนโลยี เพื่อเก็บข้อมูลความต้องการใช้งานในเทคโนโลยีอย่างไร มีความทันสมัยมากน้อยเพียงใด
ศึกษาความเป็นไปได้ของการออกแบบระบบ
หลังจากเก็บข้อมูลความต้องการของระบบเครือข่ายได้แล้วนั้น ก็จำเป็นต้อง ศึกษาถึงความเป็นไปได้สำหรับการออกแบบระบบเครือข่ายตามความต้องการที่ได้รับ เนื่องด้วยความต้องการที่ได้เก็บรวบรวมมาอาจทำได้ไม่ครบหรือทำได้ไม่ครบถ้วนสมบรูณ์
ข้อดีและข้อด้อยของระบบเครือข่าย Peer-to-Peer
 ข้อดีของระบบนี้คือ ความง่ายในการจัดตั้งระบบ มีราคาถูก และสะดวกต่อการบริหารจัดการ ดังนั้นระบบนี้จึงเหมาะสมสำหรับสำนักงานขนาดเล็ก ที่มีสถานีงานประมาณ 5-10 เครื่องที่วางอยู่ในพื้นที่เดียวกัน
ข้อด้อยของระบบนี้คือ เรื่องการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เนื่องจากไม่มีระบบการป้องกันในรูปแบบของ บัญชีผู้ใช้ และรหัสผ่าน ในการเข้าถึงทรัพยากรต่างๆ ของระบบ
รูปแสดงตัวอย่างโครงสร้างระบบเครือข่ายแบบ
Client/Server
เป็นระบบเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง และมีการใช้งานกันอย่างกว้างขวางมากกว่าระบบเครือข่ายแบบอื่นที่มีในปัจจุบัน ระบบ Client/Server สามารถสนับสนุนให้มีเครื่องลูกข่ายได้เป็นจำนวนมาก และสามารถเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้หลายแพลตฟอร์ม ระบบนี้จะทำงานโดยมีเครื่องServer ที่ให้บริการ เป็นศูนย์กลางอย่างน้อย 1 เครื่อง
อีเทอร์เน็ต (Ethernet)
อีเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่พัฒนามาจากโครงสร้างการเชื่อมต่อแบบสายสัญญาณร่วมที่เรียกว่า บัส (Bus) โดยใช้สายสัญญาณแบบแกนร่วม คือ สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable)เป็นตัวเชื่อม สำหรับระบบบัส เป็นระบบเทคโนโลยีที่คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเชื่อมโยงเข้ากับสายสัญญาณ เส้นเดียวกัน คือ เมื่อมีผู้ต้องการส่งข้อมูล ก็ส่งข้อมูลได้เลย แต่เนื่องจากไม่มีวิธีการค้นหาเส้นทางที่ส่งว่างหรือเปล่า จึงไม่ทราบว่ามีอุปกรณ์ใดหรือคอมพิวเตอร์ เครื่องใดที่ส่งข้อมูลมาในช่วงเวลาเดียวกัน จะทำให้เกิดการชนกันขึ้นและเกิดการสูญหายของข้อมูล จึงมีการพัฒนาระบบการรับส่งข้อมูลผ่านอุปกรณ์กลางที่เรียกว่า ฮับ (Hub)
วิธีการเชื่อมแบบนี้จะมีจุดศูนย์กลางอยู่ที่ฮับ ใช้สายสัญญาณไปยังอุปกรณ์หรือคอมพิวเตอร์อื่น ๆ จุดเด่นของดาวตัวนี้ จะอยู่ที่ เมื่อมีการส่งข้อมูล จะมีการตรวจสอบความผิดพลาดว่า อุปกรณ์ใดจะส่งข้อมูลมาบ้างและจะมีการสับสวิตซ์ให้ส่ง ได้หรือไม่ แต่เมื่อมีฮับเป็นตัวแบกภาระทั้งหมด ก็มีจุดอ่อนได้คือ ถ้าฮับเกิดเป็นอะไรขึ้นมา อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่น ๆ หรือคอมพิวเตอร์ก็ไม่สามารถเชื่อมต่อกันได้อีก
        ภายในฮับมีลักษณะเป็นบัสที่เชื่อมสายทุกเส้นเข้าด้วยกัน ดังนั้นการใช้ฮับและบัสจะมีระบบการส่งข้อมูลแบบ เดียวกัน และความเร็วในการส่งกำหนดไว้ที่ 10 ล้านบิตต่อ วินาที และกำลังมีมาตรฐานใหม่ให้สามารถรับส่งสัญญาณได้ถึง 100 ล้านบิตต่อวินาที
                   -  Window NT, Windows 2000 Server เป็นระบบปฏิบัติการที่พัฒนาโดยบริษัท ไมโครซอฟต์ จำกัด ประมาณปลายปี 1995 สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ เริ่มต้นไมโครซอฟต์ต้องการพัฒนาเป็นแอปปลิเคชั่น เซอร์ฟเวอร์ แต่ปัจจุบันสามารถประยุกต์ได้เป็นดาต้าเบสเซอรฟ์เวอร์ และอินเทอร์เน็ตเซอร์ฟเวอร์
                - Linux เป็นระบบปฏิบัติการสำหรับระบบเครือข่าย ที่อยู่ในกลุ่มของ FreeWare ที่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพสูง Linux พัฒนาขึ้นโดยนายไลนัส ทอร์วัลด์ (Linus Torvalds) ขณะที่ยังเป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเฮซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาได้ส่งซอร์สโค้ด(Source Code) ให้นักพัฒนาทั่วโลกร่วมกันพัฒนา โดยข้อดีของ Linux สามารถทำงานได้พร้อมกัน (Multitasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน(MultiUser) ทำให้เป็นที่นิยมแพร่หลาย บางคนกล่าวว่า "Linux ก็คือน้องของ Unix" แต่จริงๆ แล้วลีนุกซ์มีข้อดีกว่ายูนิกซ์(Unix) คือสามารถทำงาน ได้บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (PC) ที่ใช้งานอยู่ทั่วๆไป
                    - NetBUEI พัฒนาโดย IBM ในปี ค . ศ .1985 เป็นโปรโตคอลที่มีขนาดเล็กกะทัดรัดทำงานได้รวดเร็ว เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่มีขนาดเล็ก ไม่เหมาะกับเครือข่ายขนาดใหญ่เนื่องจากไม่สามารถค้นหาเส้นทางได้
                    - OS/2 Warp เป็นระบบปฏิบัติการเครือข่าย ที่บริษัทไอบีเอ็ม พัฒนาขึ้น เพื่อนำเสนอสำหรับการค้าขายในยุคดิจิตอลซึ่งไม่ค่อยประสบความสำเร็จนักต่อมาจึงเพิ่มในส่วนของ e-Business คือด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มีการออกแบบเวอร์ชันใหม่ ๆ เช่น OS/2 Server เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต


บทที่ 11 การบริหารระบบเครือข่าย

บทที่ 11 การบริหารระบบเครือข่าย
การจัดการระบบเครือข่าย
   ระบบเครือข่ายเป็นระบบสื่อสารข้อมูลที่ถูกออกแบบให้มีการใช้ทรัพยากรเครือข่ายร่วมกัน ทั้งนี้เป็นเพราะอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ที่ผู้ใช้หลาย ๆ คน สามารถใช้ร่วมกันในระบบเครือข่ายรวมทั้งซอฟต์แวร์ที่มีราคาแพง ซึ่งสามารถใช้หลาย ๆ คนพร้อมกันได้ หรือเมื่อมีความต้องการที่จะโอนถ่ายแฟ้มข้อมูลของผู้ใช้ระบบเครือข่าย



4.1 ประเภทของระบบเครือข่าย
            ระบบเครือข่ายสามารถแบ่งแยกได้ตามระยะทางระหว่างผู้ส่งและผู้รับ ดังนี้ (เดชานุชิต กตัญญทวีทิพย์, การสื่อสารข้อมูล
และเครือข่ายคอมพิวเตอร์, กรุงเทพฯ: มณฑลการพิมพ์, 2548. 8-9.)
                1) ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network - LAN) เป็นระบบเครือข่ายที่รองรับการทำงานของโฮสต์
คอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ภายในชั้นเดียวกันมีลักษณะเป็นกลุ่มผู้ใช้ที่อยู่ใกล้ ๆ กัน หรือเป็นระบบเครือข่ายภายในตึกเดียวกัน หรือภายใน
อาณาบริเวณตั้งแต่ 100 เมตร - 2 กิโลเมตร เช่น ระบบเครือข่ายภายในบริเวณเดียวกัน (Campus Network)
                2) ระบบเครือข่ายเมือง (Metropolita Area Network - MAN) เป็นระบบเครือข่ายที่รองรับการทำงานของ
โฮสต์คอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ภายในบริเวณเมือง ซึ่งมีรัศมีการทำงานตั้งแต่ 2 กิโลเมตร - 20 กิโลเมตร ซึ่งจำเป็นต้องมีการแบ็กโบน
 (Backbone) ที่ทำหน้าที่เป็นกระดูกสันหลังหรือสานแกนหลักในการเชื่อมต่อเครือข่ายดังกล่าว เช่น บริษัทที่มีการเชื่อมต่อ
เครือข่ายของสาขาต่าง ๆ ที่อยู่ในเขตเมืองหรือจังหวัดเดียวกัน และการบริการเคเบิลทีวี เป็นต้น
                3) ระบบเครือข่ายระยะไกล (Wide Area Network - WAN) เป็นระบบเครือข่ายที่รองรับการต่อเชื่อมโฮสต์
คอมพิวเตอร์ที่มีระยะทางระหว่างกันตั้งแต่ 20 กิโลเมตรเป็นต้นไป ระบบเครือข่ายระยะไกลจะใช้กับการต่อเชื่อมตั้งแต่จังหวัดหนึ่ง
ไปอีกจังหวัดหนึ่งจนถึงระดับประเทศต่อประเทศ เช่น ระบบเครือข่ายระยะไกลของธนาคาร เป็นต้น
4.2 ส่วนประกอบของเครือข่าย
               ส่วนประกอบของเครือข่าย ในที่นี่ขอกล่าวถึงส่วนประกอบพื้นฐานของเครือข่ายท้องถิ่นเป็นสำคัญ ซึ่งเครือข่ายจำเป็น
ต้องมีส่วนประกอบหลายส่วนด้วยกัน เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ บนเครือข่ายสามารถสื่อสาร เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล
ระหว่างกันได้ โดยส่วนประกอบพื้นฐานของเครือข่ายท้องถิ่น ประกอบด้วย
              1. เครื่องศูนย์บริการข้อมูล (Servers)
              2. เครื่องลูกข่ายหรือสถานี (Clients)
              3. การ์ดเครือข่าย (Network Interface Cards)
              4. สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย (Network Cables)
              5. ฮับและสวิตช์ (Hubs and Switches)
              6. ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System)

 เครื่องศูนย์บริการข้อมูล (Servers) เครื่องศูนย์บริการข้อมูล โดยมักเรียกว่า เครื่องเซิร์ฟเวอร์ เป็นคอมพิวเตอร์
ที่ทำหน้าที่บริการทรัพยากรให้กับเครื่องลูกข่ายบนเครือข่าย เช่น บริการไฟล์ (File Server), การบริการงานพิมพ์ (Print Server) 
เป็นต้น เครื่องเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นคอมพิวเตอร์ระดับเมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์ หรือไมโครคอมพิวเตอร์ก็ได้ โดยคอมพิวเตอร์ที่
ออกแบบมาเพื่อใช้งานเป็นเซิร์ฟเวอร์นี้มักจะมีสมรรถนะสูง รวมถึงถูกออกแบบมาเพื่อรองรับความทนทานต่อความผิดพลาด
 (Fault Tolerance) เนื่องจากต้องทำงานหนัก หรือต้องรองรับงานตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น เครื่องเซิร์ฟเวอร์จึงมีราคาที่สูงมาก
เมื่อเทียบกับคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานทั่ว ๆ ไป
สำหรับเครือข่ายท้องถิ่นยังสามารถติดตั้งเครือข่ายในรูปแบบของ
              1) เครือข่ายแบบเคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Dedicated Server Network) หมายถึงเครือข่ายที่มีเครืองเซิร์ฟเวอร์ไว้คอย
บริการให้กับเครื่องลูกข่าย หรือเรียกว่าเครือข่ายแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ (Client-Server) โดยเซิร์ฟเวอร์อาจเป็นเว็บเซิร์ฟเวอร์ 
(Web Server), เมลเซิร์ฟเวอร์(Mail Server), ไฟล์เซิร์ฟเวอร์ (File Server) หรือพรินเตอร์เซอร์เวอร์ (Print Server) เป็นต้น
 เครือข่ายประเภทนี้อาจมีเซิร์ฟเวอร์หนึ่งตัวที่ทำหลาย ๆ หน้าที่บนเครื่องเดียว หรืออาจมีหลาย ๆ เซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่เฉพาะก็ได้ 
ซึ่งแล้วแต่ขนาดของเครือข่าย หรือความต้องการเพิ่มประสิทธิภาพของเครือข่ายเป็นสำคัญ
                เครือข่ายไคลเอนต์เซิร์เวอร์เหมาะสมกับระบบเครือข่ายที่ต้องการเชื่อมต่อสถานีจำนวนมาก ดังนั้นเครือข่ายประเภทนี้
จึงจำแป็นต้องคัดเลือกคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูง เพื่อนำมาใช้เป็นเครื่องศูนย์บริการข้อมูลให้กับเครื่องลูกข่าย สำหรับเครื่อง
สถานีลูกข่ายสามารถใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปที่อาจไม่จำเป็นต้องมีสมรรถนะสูงมาเชื่อมต่อเพื่อใช้งานก็เป็นได้ โดยตัวอย่าง
ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่ใช้งานบนเครือข่ายแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ เช่น Novell-NetWare, Windows-NT, Unix เป็นต้น
สำหรับข้อดีและข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบไคลเอนต์เซิร์ฟเวอร์ สามารถสรุปได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                ข้อดี
                  - เครือข่ายมีเสถียรภาพสูง
การเพิ่มสถานีเครือข่ายสามารถเพิ่มขยายได้ตามต้องการ แต่อย่างไรก็ตามจะต้องคำนึงถึงตัวซิฟต์แวร์ระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่
ได้งานว่ารองรับการใช้งานของยูสเซอร์จำนวนเท่าไร เช่น ลิขสิทธิ์ของตัวโปรแกรมระบบปฏิบัติการเครือข่ายรองรับที่ 100 ยูสเซอร์
ดังนั้นก็จะสามารถเชื่อมต่อสถานีได้ไม่มากกว่า 100 เครื่อง เป็นต้น
                  - มีระบบความปลอดภัยสูง ไม่ว่าจะเป็นส่วนของระบบความปลอดภัยในข้อมูล หรือการจัดการสิทธิการใช้งาน
                    ของยูสเซอร์
                  - มีอุปกรณ์และโปรแกรมเครื่องมือต่าง ๆ ที่สนับสนุนการใช้งานค่อนข้างมาก
                ข้อเสีย
                  - มีการลงทุนสูง แต่หากเปรียบเทียบการใช้งานโดยรวม ก็ถือว่าคุ้มค่ามาก
                  - ในการติดตั้ง จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ควบคุมระบบ ที่มีความรู้และเชี่ยวชาญ
               2) เครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ (Peer-to-peer Network/Non-Dedicated Server) เป็นเครือข่ายที่ไม่มีเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่ใช้เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ คอมพิวเตอร์ทุก ๆ เครืองบนเครือข่ายประเภทนี้มีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน
ทั้งหมด จุดประสงค์ของเครือข่ายประเภทนี้คือ ต้องการเพียงสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลและแชร์ทรัพยากรร่วมกันได้เท่านั้น 
โดยอาจจำเป็นต้องยอมรับถึงความปลอดภัยที่มีค่อนข้างต่ำ ตัวอย่างระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบเพียร์ เช่น NetWare-Life,
 Windows for Workgroup, Window-9X, Windows-XP เป็นต้น
สำหรับข้อดีและข้อเสียของการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบเพียร์ทูเพียร์ สามารถสรุปได้ดังรายละเอียดต่อไปนี้
                 ข้อดี
                   - ลงทุนต่ำ
                   - เหมาะสำหรับเครือข่ายขนาดเล็ก
                   - ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาผู้ดูแลระบบ
                   - ติดตั้งง่าย
                  ข้อเสีย
                   - มีขีดความสามารถจำกัด
                   - มีระบบความปลอดภัยค่อนข้างต่ำ ทั้งในด้านของการจัดการข้อมูล และการกำหนดสิทธิการใช้งานของยูสเซอร์
                   - มีปัญหาเกี่ยวกับการขยายเคือข่าย เนื่องจากหากมีจำนวนเครื่องมากขึ้นบนเครือข่าย จะส่งผลต่อความเร็วที่เลวลง
อย่างเห็นได้ชัดเจน จำนวนเครื่องบนเครือข่ายควรอยู่ประมาณ 10 ถึง 20 เครื่องเท่านั้น ซึ่งไม่ควรมีมากไปกว่านี้

               เครื่องลูกข่ายหรือสถานีเครือข่าย (Clients) เครื่องลูกข่ายเป็นคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้าระบบเครือข่าย
 ซึ่งอาจเรียกว่าเวิร์กสเตชั่นก็ได้ โดยมักเป็นเครื่องของผู้ใช้งานทั่วไปสำหรับติดต่อเพื่อขอใช้บริการจากเซิร์ฟเวอร์ เครื่องลูกข่าย
อาจเป็นคอมพิวเตอร์ที่ไม่จำเป็นต้องมีสมรรถนะสูง ซึ่งอาจเป็นเครื่องเดสก์ทอปคอมพิวเตอร์ทั่วไปก็ได้
การ์ดเครือข่าย (Network Interface Card : NIC)
               การ์ดเครือข่ายที่ใช้งานบนเครือข่ายแลนแบบอีเทอร์เน็ต มักเรียกว่า อีเทอร์เน็ตการ์ด (Ethernet Card) ซึ่งการ์ด
ดังกล่าวมีหลายชนิดด้วยกันให้เลือกใช้งานตามความเมหาะสมไม่ว่าจะเป็นอัตราความเร็วที่กำหนดไว้เพื่อรองรับการใช้งานที่
แตกต่างกัน เช่น 10 Mbps, 10/100 Mbps หรือ 1 Gbps ส่วนคอนเน็กเตอร์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อก็มีคอนเน็กเตอร์แบบต่าง ๆ
 ให้เลือกใช้งาน ซึ่งคอนเน็กเตอร์แบบ RJ45 จะถือเป็นคอนเน็กเตอร์มาตรฐานสำหรับเครือข่ายอีเทอร์เน็ตในปัจจุบัน
 ยกเว้นการ์ดเครือข่ายรุ่นเก่า ๆ ที่ยังคงมีใช้งานอยู่บ้าง เช่น คอนเน็กเตอร์แบบ BNC หรือ AUI เป็นต้น
               สายเคเบิลที่ใช้บนเครือข่าย (Network Cables)
เครือข่ายคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีสายเคเบิลเพื่อใช้สำหรับเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ให้อยู่บนเครือข่ายเดียวกันเพื่อ
สื่อสารกันได้ การเลือกชนิดของสายเคเบิลจำเป็นต้องพิจารณาควบคู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย เช่น หากเชื่อมต่อในรูปแบ
บดาว สายเคเบิลหลัก ๆ ที่ใช้งานก็คือสาย UTP เป็นต้น โดยชนิดและคุณสมบัติของสายเคเบิลชนิดต่าง ๆ ได้กล่าวรายละเอียดไว้
ในบทที่ 4 นอกจากนี้เครือข่ายยังสามารถสื่อสารระหว่างกันโดยไม่ใช้สายก็ได้ ซึ่งเรียกว่า เครือข่ายไร้สาย โดยสามารถใช้
คลื่อนวิทยุ หรืออินฟราเรดเป็นตัวกลางในการนำพาสัญญาณอีกทั้งยังสามารถนำเครือข่ายแบบมีสาย และเครือข่ายแบบไร้สาย
มาเชื่อมต่อเข้าเป็นเครือข่ายเดียวกันได้
                ฮับและสวิชต์ (Hubs and Switches)
อุปกรณ์ฮับ และสวิตช์ มักนำไปใช้เป็นศูนย์กลางของสายเคเบิลที่เชื่อมต่อเครือข่ายเข้าด้วยกัน ซึ่งฮับหรือสวิตช์นั้นจะมีพอร์ตเพื่อ
ให้สายเคเบิลเชื่อมต่อเข้าระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ โดยจำนวนพอร์ตจะขึ้นอยู่กับแต่ละชนิด เช่น แบบ 4, 8, 16 หรือ 24 พอร์ต 
และยังสามารถนำฮับหรือสวิตช์หลาย ๆ ตัวมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเพื่อขยายเครือข่ายได้อีกด้วย
                ระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System : NOS)
สิ่งสำคัญสิ่งหนึ่งของเครือข่ายก็คือ โปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ระบบปฎิบัติการเครือข่าย เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพจำเป็นต้องมี
ซอฟต์แวร์เครือข่ายที่มีประสิทธิภาพด้วย โปรแกรมระบบปฎิบัติการเครือข่ายก็จะมีทั้งแบบไคลเอนด์เซิร์ฟเวอร์ 
และแบบเพียร์ทูเพียร์ให้เลือกใช้งานตามลักษณะของเครือข่ายที่ใช้งานหรืออกแบบไว้ ซึ่งโดยปกติระบบปฏิบัติการ Windows
 ตระกูล 9x หรือรุ่นที่สูงกว่า นอกจากจะใช้เป็นระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งเพื่อใช้งานแบบคนเดียวแล้ว ยังสามารถติดตั้งเพื่อเชื่อมต่อ
เป็นเครือข่ายในลักษณะเวิร์กกรุ๊ป หรือในรูปแบบของเครือข่ายเพียร์ทูเพียร์ก็ได้ โดยจำเป็นต้องมีการ์ดเครือข่าย และ
เลือกใช้โปรโตคอลเพื่อทำการสื่อสารร่วมกันบนเครือข่าย เช่น NetBEUI หรือ TCP/IP เป็นต้น
สำหรับระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบไคลเอนด์เซิร์ฟเวอร์นั้น จะมีชุดระบบปฏิบัติการที่จะต้องติดตั้งบนเครื่องแม่ข่าย (Server) 
และเครื่องลูกข่าย (Client/Workstation) ซึ่งระบบปฏิบัติการเครือข่ายแบบไคลเอนด์เซิร์ฟเวอร์นี้จะมีระบบความปลอดภัยสูง 
มีระบบการจัดการยูสเซอร์และการจัดการสิทธิเพื่อกำหนดแก่ผู้ใช้งานไว้อย่างครบถ้วน รวมถึงโปรแกรมเครื่องมือช่วย
ใช้งานในด้านอื่น ๆ ตัวอย่างเช่น ระบบปฏิบัติการเครือข่าย Novell-NetWare, Windows-NT, Unix, Linux เป็นต้น
4.3 การออกแบบระบบเครือข่ายท้องถิ่น
                ระบบเครือข่ายท้องถิ่นถือได้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นต่อองค์กรต่าง ๆ เพราะคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ ไม่สามารถทำงานเพียงตัวดัยว
หรือแบบ standalone ได้อีกต่อไป ความต้องการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เป็นระบบเครือข่ายถือว่าเป็นความต้องการพื้นฐานของ
ระบบสำนักงานและองค์กรต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการใช้ข้อมูลร่วมกันและเป็นการประหยัดทรัพยากรในระบบ เช่น ใช้ซอฟต์แวร์
ราคาแพงร่วมกัน หรือใช้อุปกรณ์พรินเตอร์ร่วมกัน อย่างไรก็ตาม การออกแบบระบบเครือข่ายท้องถิ่นจะต้องทำโดยผู้ชำนาญ
และมีประสบการณ์ในการออกแบบเนื่องจากระบบเครือข่ายแต่ละที่มีความต้องการของผู้ใช้ไม่เหมือนกัน รวมทั้งข้อจำกัดต่าง ๆ
 ทางด้านเทคนิคของอุปกรณ์เครือข่ายเองทำให้เราต้องรู้ถึงการและขั้นตอนการออกแบบระบบเครือข่ายที่ถูกต้อง
ระบบเครือข่ายที่ดีต้องสามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ (user's requirement) ได้ทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
 เมื่อเราทราบความต้องการของผู้ใช้แล้ว วิศวกรเครือข่ายต้องเปลี่ยนความต้องการของผู้ใช้ 
(ความต้องการการใช้โปรแกรมประยุกต์นั่นเอง) มาเป็นความต้องการของทรัพยากรเครือข่าย (network requirement)
 ซึ่งจะนำไปสู่การออกแบบเครือข่ายที่สะท้อนถึงการใช้งานระบบเครือข่ายที่ถูกต้อง
การออกแบบระบบเครือข่ายที่ดีนั้นต้องคำนึงถึงปัจจัยพื้นฐานต่าง ๆ ดังนี้
               1. Performance ประสิทธิภาพของระบบเครือข่าย โดยสะท้อนจากเมตริกต่าง ๆ เช่น Application throughput,
 response time (delay) เป็นต้น ปัจจัยทางด้านประสิทธิภาพต้องเป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้ว่า ระบบเครือข่ายสามารถรองรับการ
ทำงานของโปรแกรมประยุกต์ได้ตามข้อตกลงระดับการบริการของระบบเครือข่าย service level agreement
 เช่น ระบบเครือข่ายที่มีโปรแกรมประยุกต์สื่อประสมหลายสื่อต้องสามารถรับประกัน throughput ของผู้ใช้หนึ่ง ๆ 
ว่าต้องไม่น้อยกว่า 8 กิโลไบต์ต่อวินาที โดยต้องใช้เวลา delay จากผู้ส่งถึงผู้รับไม่เกิน 200 ms ซึ่งรับประกันคุณภาพการ
ส่งข้อมูลเสียงและภาพเคลื่อนไหวได้ หรือรับประกันการใช้เว็บว่าสามารถเข้าถึงหน้าเว็บที่ต้องการภายใน 8 วินาที เป็นต้น
               2. Reliability เป็นปัจจัยที่แสดงถึงการออกแบบที่ต้องมีระบบที่ทนต่อความผิดพร่อง fault tolerance ของเครือข่าย
อันเกิดมาจากการล้มเหลวของอุปกรณ์ที่เกิดความเสียหายโดยจะเข้าทดแทนการทำงานได้ทันทีโดยระบบไม่เกิดความเสียหาย 
อย่างไรก็ตาม ระบบสำรองที่ใช้จะทำให้ค่าใช้จ่ายในการออกแบบระบบเครือข่ายสูงขึ้น ดังนั้น เพื่อคำนึงถึงปัจจัยนี้ ต้องประเมิน
ความสำคัญของระบบงานโปรแกรมประยุกต์ของผู้ใช้ว่าจะเกิดความเสียหายขึ้นมากน้อยอย่างไรเมื่อเกิดปัญหา จากนั้นจึงสามารถ
พิจารณาระดับของการออกแบบระบบเครือข่ายสำรองให้เหมาะสมได้ โดยปกติเราสามารถแบ่งระบบสำรองได้เป็นแบบ On-line 
(Hot backup) และ Off-line (Cold backup) ซึ่งเป็นประโยชน์จากระบบสำรองต่างชนิดกันจะไม่เหมือนกันขึ้นอยู่กับระดับความ
ต้องการของผู้ใช้
               3. Scalability เป็นปัจจัยที่เน้นถึงระบบเครือข่ายที่สามารถรองรับจำนวนของผู้ใช้ในระบบเทคโนโลยีบางประเภทรวม
กับการออกแบบระบบเครือข่ายที่ถูกต้องสามารถรองรับจำนวนผู้ใช้ได้ตั้งแต่จำนวนไม่มากนักไปจนถึงผู้ใช้หลายพันคน 
โดยไม่จำเป็นต้องออกแบบระบบเครือข่ายใหม่หรือต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ ดังนั้นการเลือกเทคโนโลยีเครือข่ายที่เหมาะสม
และสามารถรองรับผู้ใช้ได้ถือว่าเป็นปัจจัยของการออกแบบระบบเครือข่ายที่สำคัญเช่นกัน
               4. Flexibility เป็นปัจจัยการออกแบบเครือข่ายที่เน้นถึงความยืดหยุ่นของเทคโนโลยี เช่น เทคโนโลยีอีเทอร์เน็ตสามารถ
ระรองรับเครือข่ายที่แบนด์วิดธ์ 10/100/1000/10,000 ล้านบิต ต่อวินาที โดยไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีอื่น สามารถเลือกใช้
สายสื่อเป็นแบบสายคู่บิดเกลียวหรือสายใยแก้ว เมื่อต้องการระยะทางระหว่างโฮสต์ที่ต่างกัน, เทคโนโลยีเอทีเอ็ม
 ATM-Asynchronous Transfer Mode สามารถเลือกใช้ในระบบเครือข่ายท้องถิ่นและ/หรือเครือข่ายทางไกล
หรือผสมกันก็ได้ เป็นต้น
               5. Security ความปลอดภัยของระบบเครือข่ายถือได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญอันดับต้น ๆ ของการออกแบบเครือข่าย
สำหรับธุรกิจหรือองค์กรที่เก็บข้อมูลที่มีความสำคัญมาก ๆ หรือเป็นองค์กรของรัฐที่เก็บข้อมูลลับต่าง ๆ การออกแบบเครือข่าย
ที่ต้องการความปลอดภัยในระดับสูงต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในระดับต่าง ๆ ดังนี้:-
                        ทางกายภาพ (Physical security) เป็นความปลอดภัยที่เห็นได้ชัดอันเกิดจากการใช้สายสื่อที่ปลอดภัยต่อ
การลักลอบดักฟัง (tapping) เช่น สายใยแก้ว หรือเดินสายคู่บิดเกลียวที่มีท่อเดินที่ปิดมิดชิด ระบบการเดินสายและกระจายสายที่
เป็นระเบียบมิดชิดโดยผู้อื่นไม่สามารถลักลอบใช้สายเครือข่ายได้, ระบบรักษาความปลอดภัยที่ต้องใช้บัตรผ่านเข้า-ออก
 หรืออาจจะต้องมีกล้องทีวีวงจรปิดในห้องเก็บเซอร์ฟเวอร์สำคัญ ๆ เป็นต้น
                        ความปลอดภัยของระบบเครือข่าย (Data link/Network security) เป็นการรักษาความปลอดภัยของ
การเข้าถึงข้อมูล เนื่องจากข้อมูลในระบบโปรแกรมประยุกต์มีหลายระดับการเข้าถึงข้อมูลระดับใดขึ้นอยู่กับผู้ดูแลระบบว่า
จะอนุญาตให้ใครสามารถเข้าถึงข้อมูลประเภททใดได้ ดังนั้น การแบ่งเป็นระดับความสำคัญของข้อมูลและผู้ใช้ การใช้อุปกรณ์
 firewall เพื่อป้องกันผู้บุกรุกจากภายนอก การเข้ารหัสของระบบเครือข่ายท้องถิ่นแบบไร้สาย (Wireless LAN) เป็นต้น
                        ความปลอดภัยของระบบโปรแกรมประยุกต์ (Application security) จะต้องรวมถึงวิธีการตรวจสอบผู้ใช้
 (User Authentication) ว่าเป็นผู้ที่ได้รับมอบหมายหรือไม่ซึ่งต้องอาศัยระบบการใช้ล็อกอินและรหัสลับของแต่ละผู้ใช้ 
รวมทั้งระบบการเข้ารหัสข้อมูลและถอดรหัสข้อมูล (encryption/decryption) ที่จะต้องผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบกุญแจแบบสมมาตร
หรืออสมมาตรเพื่อช่วยในการถอดรหัสต่าง ๆ เป็นต้น
               6. Cost-effectiveness การออกแบบระบบเครือข่ายที่ดีต้องเปรียบเทียบความคุ้มของการลงทุนในอุปกรณ์เครือข่ายโดยเปรียบเทียบ
ต่อตัวเลข throughput แต่ผู้ใช้แต่ละคน เช่น เครือข่ายหนึ่งมีค่าใช้จ่าย 2,000 บาทต่อหนึ่งกิโลบิต ในขณะที่ระบบเครือข่ายที่สองมีค่าใช้จ่ายเพียง 
1,000 บาทต่อหนึ่งกิโลบิต-ของการส่งข้อมูล ซึ่งแสดงว่าค่าใช้จ่ายเมื่อเทียบกับประโยชน์ที่ได้รับของเครือข่ายที่หนึ่งจะสูงกว่าเครือข่าย
ที่สองถึง 2 เท่า แสดงว่าการออกแบบเครือข่ายที่สองดีกว่าเครือข่ายแรกเมื่อเปรียบเทียบที่ throughput เท่ากัน เป็นต้น
              7. Manageability การออกแบบระบบเครือข่ายที่ดีต้องสามารถบริหารจัดการได้อย่างไม่ยุ่งยากและสิ้นเปลืองงบประมาณ
การบริหารจัดการไม่มากนัก อาทิเช่น ระบบสายเครือข่ายที่ดรต้องมีระบบการตั้งชื่อ (labeling) ที่สะดวกต่อการดูแลและบำรุงรักษาโดย
เจ้าหน้าที่เทคนิค รวมทั้ง การใช้ซอฟต์แวร์ในการช่วยบริหารจัดการระบบเครือข่าย (Network management software) ทำให้งานการดูแล
ระบบสะดวกและเป็นไปอย่างอัตโนมัติ หรือ ใช้เจ้าหน้าที่เทคนิคเท่าที่จำเป็น ดังนั้น การลงทุนในระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวจะต้องดูว่า
สามารถลดค่าใช้จ่ายในการบริหารเครือข่ายได้มากน้อยเพียงใด
            หลักการออกแบบระบบเครือข่าย  
              ในการออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่ายใดๆ นั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ได้มาซึ่งแบบขึ้นสุดท้าย 
( Final Design ) ที่ดีที่สุด มีประสิทธิภาพที่คุ้มค่ากับการลงทุน และตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้อย่างครบถ้วน ดังรูปข้างต้น
              1) ความต้องการของผู้ใช้
ถือได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการออกแบบระบบ เพราะจะเป็นสิ่งที่กำหนดแนวทางการออกแบบและพัฒนา รวมไปถึงการกำหนดคุณสมบัติ
ของอุปกรณ์ และรูปแบบการเชื่อมต่อต่างๆ ซึ่งความต้องการนี้อาจจะได้มาจากหลายๆ แหล่ง เช่น วิเคราะห์จากแผนกลยุทธ์ขององค์กร 
วิเคราะห์จากแผนงานด้านสารสนเทศ หรือแม้กระทั่งออกแบบสอบถามเพื่อสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้เป็นต้น
              2) ความต้องการระบบ
เมื่อได้ความต้องการของผู้ใช้แล้ว ก็นำข้อมูลนั้นมาประมวลผลให้เป็นข้อมูลทางเทคนิค โดยสามารถวิเคราะห์ความต้องการดังกล่าวเทียบกับ
 OSI Model 7 Layers เช่น ใน Physical Layer ก็จะเป็นส่วนที่กำหนดความต้องการด้านประเภทและชนิดของสายสัญญาณตามมาตรฐานต่างๆ
และใน Network Layer ก็จะเป็นส่วนที่กำหนดรูปแบบการเชื่อมต่อ และวิธีการส่งผ่านข้อมูลในระบบเครือข่ายเป็นต้น
              3) การสำรวจสภาพของเทคโนโลยีในปัจจุบัน
การศึกษาข้อมูลของเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้น สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การค้นหาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ ข้อมูลจากนิตยสาร
ทางด้านคอมพิวเตอร์ การค้นหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต หรือการติดต่อสอบถามจากผู้จำหน่ายอุปกรณ์เพื่อสอบถามถึงข้อมูลเทคโนโลยีล่าสุด
ของอุปกรณ์ชนิดต่างๆ
              4) การพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย
การเปรียบเทียบค่าใช้จ่าย เพื่อให้เห็นถึงจุดเด่น / จุดด้อย ของระบบในแต่ละรูปแบบ และยังสามารถนำผลวิเคราะห์ที่ได้นำเสนอให้ผู้บริหารเพื่อใช้
เป็นสารสนเทศประกอบการตัดสินใจได้
              5) การประเมินการออกแบบ
จากข้อที่ 1 ถึง 3 ข้างต้น จะทำให้ได้แบบเบื้องต้น (Preliminary Design) ซึ่งแบบเบื้องต้นที่ได้นั้น จะถูกนำมาผ่านขั้นตอนการวิเคราะห์อย่าง
ละเอียดในขั้นตอนการประเมินนี้ โดยจะวิเคราะห์ควบคู่กับข้อมูลที่ได้จากข้อ 4 และจะมีการปรับแก้จนกว่าจะเป็นที่น่าพอใจของทุกๆ ฝ่าย
 และได้เป็นแบบขั้นสุดท้าย ( Final Design ) เพื่อใช้เป็นแนวทางหลักในการดำเนินการต่อไป
4.4 การบริหารโปรเจคระบบเครือข่าย
                    เมื่อโปรเจคได้ผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการบริหารเครือข่าย (IT Steering Committee) แล้ว จะต้องแต่งตั้งผู้บริหารโปรเจค
เพื่อควบคุมดูแลการติดตั้งระบบเครือข่ายให้ได้ตามงบประมาณและในเวลาที่กำหนด ผู้รับผิดชอบต่อการบริหารจัดการโปรเจคให้ได้ตามข้อกำหนด
ดังกล่าวเรียกว่า Project Manager หรือผู้บริหารจัดการโปรเจค หน้าที่ของผู้บริหารจัดการโปรเจคระบบเครือข่ายมีดังนี้:-
                     รับผิดชอบในการแบ่งโปรเจคออกเป็นงานย่อย ๆ Task breakdown เพื่อจัดสรรให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องโดยแต่ละงานย่อย ๆ
 อาจแต่งตั้ง IT Sub-steering Committee ขึ้นมาดูแลในแต่ละส่วนอย่างใกล้ชิด
                     จัดสรรทรัพยากรของโปรเจคให้เป็นไปอย่างเหมาะสม เช่น การจ้างคน การจัดสรรเรื่องงบประมาณของทีมงาน เป็นต้น
                     ตัดสินใจแต่ละขั้นตอนสำคัญ ๆ เพื่อให้งานดำเนินไปได้ในเวลาและงบประมาณที่กำหนด
                     ควบคุมให้โปรเจคเป็นไปตามจุดมุ่งหมายของการทำโปรเจคที่ได้กำหนดใน Project proposal และทำการปรับเปลี่ยนเมื่อ
                        เห็นสมควร
                     คุมคุณภาพของการทำโปรเจค Quality audit/Quality control เพื่อให้ได้ผลงานที่ดีมีคุณภาพ
                     คัดเลือกทีมงานที่เกี่ยวข้อง Project staffs ในการบริหารจัดการโปรเจค
                     สื่อสารกับทีมงานโปรเจคให้ทราบถึงสถานะของโปรเจค รวมทั้งความก้าวหน้า/ปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องการการตัดสินใจร่วมกัน เป็นต้น
                     วางแผนการส่งมอบโปรเจคจากทีมงานหนึ่งไปยังอีกทีมงานหนึ่งอย่างเรียบร้อย ในกรณีที่โปรเจคแบ่งเป็นงานย่อย ๆ 
                        ที่ต้องการใช้ทีมงานหลาย ๆ ทีม
                     ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องในโปรเจค Project stakeholders ซึ่งได้แก่ ผู้บริหาร, ผู้ใช้, เจ้าหน้าที่ทางเทคนิค, 
                        บริษัทที่รับผิดชอบในการติดตั้ง/ออกแบบระบบเครือข่าย เป็นต้น
                     จัดทำเอกสารรายละเอียดของโปรเจคสามารถ รายงานการประชุม ข้อสรุปต่าง ๆ ค่าใช้จ่าย ฯลฯ

4.5 การจัดการเครือข่าย          
                ในเบื้องต้นผู้ใช้เครือข่ายสามารถดูแลเครือข่ายของตัวเองได้ โดยไม่ต้องพึ่งผู้เชี่ยวชาญ การดูแลและจัดการเครือข่ายเบื้องต้นสำหรับ
ผู้ใช้งานมีดังนี้

                การจัดการบัญชีผู้ใช้ ก่อนเริ่มใช้งานเครือข่าย ต้องมีการจัดการเกี่ยวกับผู้ที่จะเข้าใช้งานเครือข่ายนั้น ๆ โดยขั้นแรกทำการบ็อกอิน
คือการกำหนดชื่อผู้ใช้และรหัสผ่านในการใช้งานเครือข่าย บัญชีผู้ใช้ที่อยู่ในเครือข่ายมี 2 ประเภท
                     บัญชีผู้ใช้ (User Account) ผู้ใช้ควรตั้งชื่อให้ง่ายต่อการจดจำและต้องสามารถจดจำรหัสผ่านให้ได้อย่างแม่นยำด้วยรหัสผ่านควร
เป็นสิ่งที่จำได้ง่าย และยากต่อการคาดเดาของผู้อื่น ถ้าจำรหัสผ่านผิดทำให้ไม่สามารถเข้าไปใช้งานระบบเคือข่ายได้
                     บัญชีกลุ่มผู้ใช้ (Group Account) การแบ่งผู้ใช้ออกเป็นกลุ่มแล้วจึงตั้งชื่อและรหัสผ่านเดียวกันเพื่อสะดวกในการจัดการ แทนที่
จะตั้งชื่อและตั้งรหัสผ่านของผู้ใช้คนเดียว เพื่อป้องกันการลืมรหัสผ่านของผู้ใช้แต่ละคน

                การจัดการทรัพยากร เนื่องจากการใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่าย เป็นจุดประสงค์หลักของเครือข่าย ดังนั้นก่อนที่เราจะสามารถ
ใช้ทรัพยากรร่วมกันในเครือข่าย ก่อนอื่นเราจำเป็นต้องกำหนดค่าการใช้อุปกรณ์ในเครือข่าย เพื่อให้ทรัพยกรในเครือข่ายพร้อมใช้งานอย่างมี
ประสิทธิภาพในเครือข่าย ซึ่งการกำหนดค่าการใช้ทรัพยากร ต่าง ๆ มีดังนี้
                   การจัดการพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ เป็นส่วนที่กำหนดข้อจำกัดเกี่ยวกับพื้นที่การใช้งานฮาร์ดดิสก์แต่ละคนที่ติดตั้งบนระบบไฟล์เซิร์ฟเวอร์ 
ต้องมีการจำกัดพื้นที่การใช้งานฮาร์ดดิสก์แต่ละคนเพราะเมื่อผู้ใช้แต่ละคนใช้งานไปนาน ๆ ทำให้ใช้พื้นที่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งฮาร์ดดิสก์เต็ม 
จึงต้องทำการขนาดพื้นที่ของแต่ละคนให้แน่นอน
                   ไฟล์และไดเร็กทอรี คือต้องมีการกำหนดสิทธ์ให้แก่ผู้ใช้งานเข้าใช้ไฟล์และไดเร็กทอรีเพื่อป้องกันข้อมูลที่สำคัญรั่วไหลออก
สู่ภายนอกองค์กร
                   เครื่องพิมพ์ คือต้องการทำตั้งค่าเครื่องพิมพ์ให้ผู้ใช้งานร่วมกันได้ และต้องทำการตรวจสอบสถานะเครื่องพิมพ์ว่าปกติหรือไม่
 เพื่อให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ
4.6 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับระบบเครือข่าย
                  ปัญหาฮาร์ดแวร์ของเครือข่าย ในช่วงแรกของการติดตั้งอุปกรณ์ของเครือข่ายและสายสัญญาณ เพราะฮาร์ดแวร์ในช่วงแรกของการ
ติดตั้งใหม่จะไม่มีปัญหาขัดข้อง แต่เมื่อใช้ไปนาน ๆ มีข้อมูลผ่านเข้าออกมาก ปัญหาจึงเริ่มเกิดขึ้นมีสาเหตุดังนี้
                  1. การใช้สายสัญญาณเกินข้อกำกัด เช่น การใช้สายสัญญาณยาวเกินไป, การเชื่อมต่อสายโคแอ็กซ์ไม่ถูกต้อง และการใช้ฮับและ
สวิตช์เกินกว่ากำหนด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้ข้อมูลที่ส่งไปป็นขยะ หรือข้อมูลอาจส่งไปไม่ถึง
การป้องกันปัญหาทำใด้โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อจำกัดเกี่ยวกับความยาวของสายสัญญาณและดูแลไม่ให้เกินมาตรฐานระหว่างการออกแบบ
และติดตั้งเครือข่าย เช่น สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวนจะถูกรบกวนได้งานจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เพราะฉะนั้นในขณะที่ทำการติดตั้ง
สายสัญญาณไม่ติดตั้งสายสัญญาณใกล้แหล่งที่มีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เช่น ไม่ควรเชื่อมต่อในบริเวณที่ใกล้สายไฟฟ้า เป็นต้น
                  2. อุปกรณ์เครือข่ายทำงานไม่ทัน เมื่อมีแพ็กเก็จข้อมูลจำนวนมาก ทำให้ฮาร์ดแวร์ต้องทำงานมากขึ้น จะส่งผลกระทบกับอุปกรณ์
ที่ต้องทำการเลือกและคำนวณเส้นทางระหว่างเครือข่ายทำให้อุปกรณ๋ชนิดนั้น ๆ ทำงานผิดพลาด เช่น เราท์เตอร์ถ้ามีการส่งข้อมูลมากเกินไป 
ทำให้เราท์เตอร์ส่งข้อมูลออกมาเป็นขยะข้อมูลได้
การป้องกันคือ ควรใช้เราท์เตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเราท์เตอร์อย่างเดียว ไม่ใช้คอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเราท์เตอร์และทำอย่างอื่นด้วย
                 3. การชนกันของข้อมูล ถ้ามีการใช้เทคโนโลยีแบบอีเธอร์เน็ตเมื่อเครือข่ายมีขนาดใหญ่ข้อมูลที่ผ่านเข้าออกภายในเครือข่ายย่อม
มีมาก ทำให้เกิดการชนกันของข้อมูลจึงเกิดขึ้นได้ ซึ่งวิธีนี้สามารถแก้ไขได้โดยการเปลี่ยนไปใช้สายสัญญาณที่มีประสิทธิภาพสูงกว่า 
หรือใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อเครือข่ายที่เรียกว่าสวิตช์
                 4. ฮาร์ดแวร์ชำรุด ปัญหาฮาร์ดแวร์ชำรุดอาจก่อให้เกิดเครือข่ายล่มได้ เช่น อีเธอร์เน็ตการ์ดชำรุดอาจส่งข้อมูลเป็นจำนวนมาก 
ทำให้เกิดแพ็กเก็จข้อมูลเสีย เป็นต้น
                 5. การโจมตีผ่านเครือข่านอินเทอร์เน็ต (Denial-of-Service) เป็นการโจมตีจากอินเทอร์เน็ตโดยผู้ส่งแพ็กเก็จข้อมูลจำนวนมากมา
ทางอินเทอร์เน็ตมายังเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ทำให้เซิร์ฟเวอร์รับแพ็กเก็จมากเกินไปทำให้ระบบเครือข่ายล้มได้
ปัญหานี้เกิดขึ้นจากจุดอ่อนของโปรโตคอล TCP/IP ซึ่งสามารถป้องกันได้โดยติดตั้งแพตช์ล่าสุดของระบบปฏิบัติการนั้น ๆ
                 6. การใช้โปรโตคอลประสิทธิภาพต่ำ ปัญหานี้เกิดจากการใช้โปรโตคอลที่ติดตั้งง่าย แต่มีการส่งแพ็กเก็จแบบแพร่กระจาย 
ทำให้จำนวนแพ็กเก็จข้อมูลในเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น เช่น โปรโตคอล IPX/SPX เป็นต้น
การแก้ปัญหานี้ก็คือ การตั้งค่าเครื่องสถานีงานให้มีการส่งข้อมูลแบบแพร่กระจายน้อยที่สุด หรือทำการเปลี่ยนโปรโตคอลไปใช้โปรโตคอล
ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
4.7 การรักษาความปลอดภัยภายในเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                ในปัจจุบันองค์กร หรือหน่วยงานมีจำนวนมาก ได้สร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขึ้นเพื่อใช้งานภายในองค์กร โดยใช้มาตรฐานเดียวกัน
กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เราเรียกว่าอินทราเน็ตนั่นเอง ซึ่งอินทราเน็ตนี้จะเชื่อมโยงให้ผู้ใช้งานทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้ แต่การทำงาน
ดังกล่าวนี้ ไม่ได้กำหนดขอบเขตเฉพาะในองค์กรเท่านั้น มีหลายองค์กรที่ได้นำเอาเครือข่ายอินทราเน็ตมาเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การทำงานสามารถเชื่อมโยงกับองค์กรอื่น ๆ ได้
เมื่อนำเครือข่ายมาเชื่อมต่อกันแล้วการสื่อสารข้อมูลจะกระทำได้ง่ายขึ้น แต่ถ้ามองในมุมกลับกันเมื่อการสื่อสารข้อมูลมีมากขึ้นความปลอดภัย
ในการสื่อสารก็ย่อมน้อยลงตามลำดับ เพราะฉะนั้นองค์กรก็จะแสวงหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อมาใช้รักษาความปลอดภัยภายในเครือข่าย
 เพื่อมิให้ข้อมูลสำคัญ ๆ ขององค์กรแพร่กระจายออกไป หรือป้องกันมิให้ผู้บุกรุกเข้ามาสร้างความเสียหายแก่เครือข่ายของเราได้
                4.7.1ผู้บุกรุกเครือข่ายคอมพิวเตอร์

ในการสร้างขึ้นมาเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ย่อมมีผู้ที่ต้องการใช้ข้อมูลในทางที่ดีและไม่ดี ผู้บุกรุกเครือข่ายคอมพิวเตอร์อาจจะมีจุดประสงค์เพื่อ
การแทรกแซงการใช้งานของระบบ, พยายามดูข้อมูล, แก้ไขข้อมูล หรือาจทำให้ระบบเราล้มเลยก็เลย ผู้บุกรุกเครือข่ายมีวิธีการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. การโจมตีรหัสผ่าน (Password Attacks) คือ การที่ผู้บุกรุกพยายามเดารหัสผ่านของผู้ใช้เครือข่ายซึ่งผู้บุกรุกจะใช้หลายวิธีในการบุกรุก เช่น
 การเดาแบบลองผิดลองถูกไปเรื่อย ๆ หรือที่เรียกว่าการเดาแบบบรู๊ทฟอร์ท (Bruie-Force) เพื่อพยายามเข้าใช้ระบบเสมือนผู้ใช้ตัวจริง
2. แพ็กเก็จสนิฟเฟอร์ (Packet Snifter) คือโปรแกรมที่สามารถตรวจจับและเข้าไปใช้ข้อมูลที่วิ่งบนเครือข่ายได้ ซึ่งในปัจจุบันโปรแกรมเหล่านี้
หาดาวน์โหลดได้ง่าย เนื่องโปรโตคอลที่นิยทใช้กันมากคือโปรโตคอล TCP/IP ทำให้บุคคลบางกลุ่มลักลอบพัฒนาโปรแกรมที่สามารถตรวจจับ
ข้อมูลผ่านเข้าออกเครือข่ายได้ เช่น แพ็กเก็จสนิฟเฟอร์ ที่สามารถตรวจจับ ผู้ใช้และรหัสผ่านได้ ผู้บุกรุกจะใช้รหัสผ่านที่ตรวจจับได้เข้ามาใช้งาน
ระบบของเรา ซึ่งอาจสร้างความเสียหายแก่ระบบได้มากมาย
3. ไอพีปูลฟิง (IP Spoolfing) คือวิธีการที่ผู้บุกรุกภายนอกสร้างข้อมูลปลอมที่เชื่อถือ และมาขอใช้บริการระบบเครือข่ายของเรา ระบบเครือข่าย
ของเราก็อนุญาให้ใช้ทรัพยากรในเครือข่ายได้ เช่น ใช้ค่าไอพีแอดเดรสปลอมเหมือนกับที่ใช้ในเคือข่ายเพื่อทำการขอใช้บริการในเครือข่าย
4. การโจมตี (Man-in-the-Middle) คือวิธีการนี้ผู้โจมตีต้องสามารถเข้าถึงแพ็กเก็จข้อมูลที่รับ-ส่ง อยู่ระหว่างเครือข่ายได้ เช่นผู้โจมตีอาจอยู่ที่จุด
ที่สามารถตรวจจับแพ็กเก็จข้อมูลที่ส่งผ่านระหว่างเครือข่ายได้ แล้วใช้แพ็จเก็จสนิฟเฟอร์เป็นเครื่องมือขโมยข้อมูล เป็นต้น
              4.7.2 เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์
                     ไฟล์วอลล์ เป็นโปรแกรมที่บรรจุไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จัดให้เป็นทางผ่านเข้าออกของข้อมูล เพื่อป้องกันการ
แปลกปลอมของผู้บุกรุกจากภายนอกที่จะเข้าสู่ระบบ แล้วยังสามารถควบคุมการใช้งานในเครือข่าย โดยกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้แต่ละคนให้
ผ่านเข้าออกได้อย่างปลอดภัย เมื่อมีการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ไฟล์วอลล์จึงเป็นตัวป้องกันสำคัญที่ใช้ในการรักษาความปลอดภัยในเครือข่าย
ระบบของไฟล์วอลล์มีหลายระดับตั้งแต่ ใช้อุปกรณ์สื่อสารทำหน้าที่เป็นไฟล์วอลล์ เช่น เราท์เตอร์ทำหน้าที่เป็นไฟล์วอลล์เพื่อควบคุมการสื่อสาร 
จนถึงใช้คอมพิวเตอร์ที่มีซอฟต์แวร์ไฟล์วอลล์เพื่อป้องกันเครือข่าย
เหตุที่มีการใช้ไฟล์วอลล์ คือ เพื่อให้ผู้ที่อยู่ภายในเครือข่ายสามารถใช้บริการเครือข่ายได้เต็มประสิทธิภาพ และสามารถใช้บริการเครือข่าย
ภายนอกได้อย่างปลอดภัย
เมื่อทำการติดตั้งไฟล์วอลล์แล้ว ไฟล์วอลล์จะเป็นเหมือนกำแพงไฟควบคุมการผ่านของออกของแพ็กเก็จข้อมูล โดยกำการอนุญาตหรือไม่
อนุญาตให้ข้อมูลผ่านเข้าออกเครือข่าย

 ไฟล์วอลล์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ แอพพลิเคชันเลเยอร์ไฟล์วอลล์ (Application Layer Firewall) เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า 
พร็อกซี่ คือ โปรแกรมที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย ไฟล์วอลล์จะมีเน็ตเวิร์คการ์ดหลายการ์ด
 เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่าย ภายในเครือข่ายจะมีโปรโตคอลในการรักษความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดว่าช่องทางใดสามารถ
ถ่ายโอนข้อมูลได้บ้าง ถ้าโปรโตคอลไม่ได้กำหนดชัดเจนว่าช่องทางไหนอนุญาตให้ผ่าน ไฟล์วอลล์ก็จะไม่ยอมให้ข้อมูลนั้นผ่านเครือข่ายพร็อกซี่
ที่ดีต้องออกแบบมาเพื่อจัดการกับโปรโตคอลโดยเฉพาะ ตัวอย่างโปรโตคอลที่มีพร็อกซี่ได้แก่ HTTP, FTP หรือ Telnet เป็นต้น
แพ็กเก็จฟิลเตอร์ริ่งไฟล์วอลล์ (Package Fittering Firewall)
มีหน้าที่กรองแพ็กเก็จข้อมูลที่ผ่านไฟล์วอลล์ ไฟล์วอลล์ชนิดนี้จะอนุฐาตให้มีการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเครืองไคลเอนท์และเซิร์ฟเวอร์ 
อาจเป็นได้ทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เช่น เราท์เตอร์ เป็นต้น
เราท์เตอร์มีหลักการทำงานดังนี้ เมื่อได้รับแพ็กเก็จก็จะทำการตรวจสอบหมายเลขไอพีเครื่องปลายทาง ก่อนทำการส่งข้อมูลไฟล์วอลล์จะ
ทำการกรองแพ็กเก็จ แพ็กเก็จจะถูกรองตามนโยบายควบคุมการ
ในการใช้วิธีการนี้ถ้าคีย์ยาวเท่าไร การลักลอบถอดรหัสก็จะทำได้ยากเท่านั้น แต่วิธีการนี้มีข้อเสียตรงที่ต้องใช้คีย์ที่ตรงกันอาจทำให้ข้อมูลรั่วไหล
ได้หากมีการส่งข้อมูลให้หลาย ๆคน จะทำให้มีบุคคลที่รู้คีย์ข้อมูลมาก ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยต่อข้อมูลได้

                       การเข้ารหัสและถอรหัสแบบคีย์ข้อมูล (Public/Private Key) การเข้ารหัสและถอดรหัสแบบคีย์คู่นี้ จะใช้คนละคีย์กัน
ในการเข้าและถอดรหัสคีย์ โดยทั้งสองคีย์นี้จะเกี่ยวเนื่องกันในทางคณิตศาสตร์
การเข้ารหัสและถอดรัหสแบบคีย์มีวิธีการดังนี้
                        1. ผู้ส่งนำข้อมูลที่ต้องการส่งมาเข้ารหัสคีย์ คีย์ตัวนี้เรียกว่า ไพรเวทคีย์
                        2. ข้อมูลที่ถูกเข้ารหัสคีย์จะถูกเปลี่ยนสภาพเป็นตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งยากต่อการเข้าใจ เรียกขั้นตอนนี้ว่าเอนคริปชัน
                             (Encryption)
                        3. ข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนสภาพแล้วถูกส่งไปยังผู้รับ
                        4. ผู้รับจะใช้พับลิกคีย์ของผู้ส่ง ในการถอดรหัสข้อมูล
                        5. เมื่อผู้รับถอดรหัสคีย์ถูกต้อง ข้อมูลที่ถูกเปลี่ยนสภาพแล้วจะกลับขยายเป็นข้อมูลปกติ เรียกขั้นตอนนี้ว่าดีคริปชัน 
                            (Decryption)


          สายเซ็นดิจิตอล (Digital Signature) การใช้ระบบรักษาความปลอดภัยวิธีนี้ มีขุดประสงค์แตกต่างกับวิธีรักษา
ความปลอดภัยวิธีอื่น ๆ หรือการใช้งานเซ็นดิจิตอลเพื่อยืนยันว่าข้อมูลที่ส่งมาจากตัวผู้ส่งจริง ไม่ได้ถูกปลอมแปลงโดยผู้อื่นเสมือนกันการใช้
ลายเซ็นในเอกสารทั่ว ๆ ไปนั่นเอง
การเข้ารหัสแบบลายเซ็นดิจิตอลนี้ มีลักษณะคล้ายกับการใช้พับลิกคีย์ในการเข้ารหัส แต่การใช้พลับบลิกคีย์ในการเข้ารหัสจะมีปัญหาคือ 
เวลาในการทำงานเข้ารหัสแบะถอดรหัสจะนานถ้าข้อมูลมีขนาดใหญ่และการเข้ารหัสแบบพลับบลิกคีย์ คือ ผู้ส่งต้องการปกปิดข้อมูลที่ส่ง
ให้เป็นความลับ แต่ลายเซ็นดิจิตอลมีจุดประสงค์เพื่อยืนยันว่าเป็นข้อความที่มาจากตัวผู้ส่งจริง ไม่เน้นการปกปิดข้อมูล
การใช้ลายเซ็นดิจิตอลมีขั้นตอนดังนี้
                        1. ข้อมูลที่ต้องการจะถูกคำนวณให้สั้นลง เรียกว่า เมสเสจไดเจสต์ (Message Digest)
                        2. ผู้ส่งจะเซ็นชื่อในข้อความโดยไพรเวทคีย์ของผู้ส่ง ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นลายเซ็นดิจิตอลของข้อมูลนั้น
                        3. ข้อมูลเดิมจะถูกส่งพร้อมลายเซ็นดิจิตอลไปให้ผู้รับ
                        4. ผู้รับจะทำการตรวจสอบข้อมูล โดยคำนวณเมสเสจไดเจสต์ และใช้พับบลิกคีย์ของผู้ส่งถอดรหัสลายเซ็นดิจิตอล
                        5. เปรียบเทียบเมสเสจไดเจสต์ที่คำนวณได้กับรหัสที่ถอดไว้ ถ้าเหมือนกันแสดงว่าข้อมูลไม่ได้ถูกปลอมแปลง



          อีเมลเข้ารหัส (Privacy Enhanced Mail) เป็นระบบการรักษาความปลอดภัยในการส่งจดหมายอีเล็กทรอนิกส์
 หรืออีเมล หากทำการส่ง
อีเมลปกติข้อความในอีเมลจะไม่ถูกปกปิดเป็นความลับ ถ้าหากคุณต้องการส่งข้อความที่เป็นความลับระหว่างกัน เช่น รหัสผ่านต่าง ๆ 
จะทำให้ข้อมูลที่ต้องการส่งรั่วไหลได้ง่าย ดังนั้นกลุ่ม Private and Security Group ที่ทำงานภายใต้องค์กร IAB (Internet Architecture Board) 
จึงได้พัฒนาอีเมลเข้ารหัสขึ้น
โดยอีเมลเข้ารหัสมีคุณสมบัติดังนี้
                        1. ข้อความที่ถูกส่งออกไปต้องเป็นความลับตลอดเส้นทางการส่ง
                        2. ยืนยันได้ว่าอีเมลรับการส่งจากตัวผู้ส่งจริง ไม่ใช่บุคคลอื่นแอบอ้าง
                        3. ข้อความที่ผู้รับได้รับต้องครบถ้วนสมบูรณ์ไม่ขาดหาย ไม่มีแก้ไขโดยบุคคลอื่น
                        4. มีระบบตรวจสอบการส่งว่าส่งจากผู้ส่งจริง