วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

หน่วยที่ 5 อุปกรณ์เครือข่าย

หน่วยที่ 5 อุปกรณ์เครือข่าย
การ์ดเครือข่าย (Network Adapter) หรือ การ์ด LAN
เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่สื่อสารระหว่างเครื่องต่างกันได้ไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นหรือยี่ห้อเดียวกันแต่หากซื้อพร้อมๆกันก็แนะนำให้ซื้อรุ่นและยีห้อเดียวกันจะดีกว่าและควรเป็น การ์ดแบบ PCI เพราะสามารถส่งข้อมูลได้เร็วกว่าแบบ ISAและเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆมักจะไม่มี Slot  ISA ควรเป็นการ์ดที่มีความเร็วเป็น 100 Mbpsซึ่งจะมีราคามากกว่าการ์ดแบบ 10 Mbps ไม่มากนัก แต่ส่งขอมูลได้เร็วกว่า นอกจากนี้คุณควรคำหนึงถึงขั้วต่อหรือคอนเน็กเตอร์ของการ์ดด้วยโดยทั่วไปคอนเน็กเตอร์ ของการ์ด LAN จะมีหลายแบบ เช่น BNC , RJ-45 เป็นต้น ซึ่งคอนเน็กเตอร์แต่ละแบบก็จะใช้สายที่แตกต่างกัน

วิธีการต่อสาย LAN

1.  ก่อนอื่นให้คุณตัดฉนวน PVC  ที่หุ้มสายออกโดยให้ตัดห่างจากปลายสายเข้ามาประมาณครึ่งนิ้ว  (17/32 นิ้ว)
2.  จากนั้นตัดสาย Shieled  ที่มีลักษณะเป็นร่างแหชั้นที่ 2 ออก  โดยตัดให้ห่างจากปลายสายเข้ามา  8/32 นิ้ว หรือ 1/4 นิ้ว
3.  จากนั้นให้คุณตัดฉนวนสีขาวชั้นในออก โดยตัดให้ห่างจากปลายสายเข้ามาประมาณ 6/32 นิ้ว
                  4.  หลังจากที่เตรียมสายเสร็จแล้ว  ให้คุณนำตัว BNC Connector หรือขั้วต่อมาเชื่อมต่อ  โดยขั้วต่อจะมีส่วนประกอบทั้งหมด 3 ส่วนดังนี้
5.  ให้คุณนำเอาสายที่ได้เตรียมไว้สวมเข้าไปในส่วนที่ 1 ไว้ก่อน
6. นำส่วนที่ 2 ที่มีลักษณะเป็นเข้มเล็กๆมาสวมกับสายที่ได้เตรียมไว้ หากคุณตัดสายได้ตามสัดส่วนที่กำหนดสายจะพอดีหัวขั้ว
7.  นำสายไปเสียบกับหัวขั้วส่วนที่ 3  แล้วเลื่อนปลอกเข้ามาให้ชิดกับหัวขั้วและใช้คีมบีบปลอกให้ยึดติดกับหัวขั้วและสาย
8.  ทำตามขั้นตอนกับสายอีกด้านก็จะได้สายที่พร้อมใช้งาน 1 เส้น
เกตเวย์ (Gateway)
เกตเวย์เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อีกอย่างหนึ่งที่ช่วยในการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หน้าที่หลักคือช่วยให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์  2 เครือข่ายหรือมากกว่า ซึ่งมีลักษณะไม่เหมือนกันสามารถติดต่อสื่อสารกันได้เหมือนเป็นเครือข่ายเดียวกัน


สื่อที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูล (Media)

สื่อสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆได้ 2 กลุ่มคือ
1.สื่อประเภทเหนี่ยวนำ ได้แก่ สายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล และสายใยแก้วนำแสง
2.สื่อประเภทกระจายคลื่น ได้แก่ คลื่นวิทยุ ไมโครเวฟ
            สื่อประเภทเหนี่ยวนำ
สายคู่บิดเกลียว (Twisted-Pair Cable)
สายคู่บิดเกลียว ประกอบด้วยสายทองแดง ที่หุ้มด้วยฉนวนพลาสติก หลังจากนั้นก็จะนำสายทั้ง2 เส้นมาถักกันเป็นเกลียวคู่ โดยสายคู่หนึ่งก็จะใช้สำหรับการสื่อสารหนึ่งช่องทาง จำนวนคู่ที่เกิดจากการนำสาย2เส้นมาถักกันเป็นเกลียว ซึ่งอาจจะมีหลายๆคู่ที่นำมารวบเข้าด้วยกันและหุ้มด้วยฉนวนภายนอก **การที่นำสายมาถักเป็นเกลียว มีเหตุผลสำคัญคือ ช่วยลดการแทรกแซงจากสัญญาณรบกวน**
สายคู่บิดเกลียวจะมีอยู่ 2 รูปแบบด้วยกันคือ แบบมีชีลด์ และแบบไม่มีชีลด์
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่มีชีลด์ (UTP) เป็นสายชนิหนึ่งที่มีความนิยมใช้งานมากในปัจจุบัน มีลักษณะคล้ายกับสายโทรศัพท์ที่ใช้ตามบ้าน โดยหน่วยงาน EIA ได้มีการพัฒนามาตรฐานสาย UTP ตามเกรดการใช้งาน
**สาย UTP ที่นิยมใช้กับเครือข่ายท้องถิ่น คือ (CAT 5)**
สายคู่บิดเกลียวชนิดมีชีลด์(STP) มีลักษณะคล้ายกับสาย UTP แต่สาย STP จะมีชีลด์ห่อหุ้มอีกชั้นหนึ่งทำให้ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดีว่า UTP โดยหากมีการนำสาย UTP หลายๆเส้นมามัดรวมกันหรือมีการวางพลาดระหว่างกัน อาจเกิดสัญญาณรบกวนที่เรียกว่า ครอสทอล์ก ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าสาย STP นั้นมีคุณภาพที่ดีกว่า แต่ก็มีต้นทุนที่สูงกว่าเช่นกัน
สำหรับการส่งข้อมูลด้วยสายคู่บิดเกลียว จะมีคุณลักษณะสำคัญต่างๆ ดังต่อไปนี้
-กรณีส่งข้อมูลแบบ แอนะล็อก จำเป็นต้องมีเครื่องขยาย (Amplifiers) เพื่อเพิ่มเพิ่มกำลังส่งในระยะทางทุกๆ 5-6 กม.
-กรณีส่งข้อมูลแบบดิจิตอล จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่าเครื่องทวนสัญญาณ (Repeater)ในระยะทางทุกๆ 2-3 กม.
-ใช้งานบนระยะทางที่จำกัด
-มีแบนด์วิดธ์ที่จำกัด
-อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลจำกัด
-ไวต่อสัญญาณรบกวน
           

ข้อดีและข้อเสียของสายคู่บิดเกลียว
ข้อดี
-ราคาถูก
-ง่ายต่อการนำไปใช้
ข้อเสีย
-จำกัดความเร็ว
-ใช้กับระยะทางสั้นๆ
-ในกรณีเป็นสายแบบไม่มีชีลด์ ก็จะไวต่อสัญญาณรบกวน

สายโคแอกเชียล Coaxial Cable)
สายโคแอกเชียลหรือมักเรียกสั้นๆว่า สายโคแอกซ์ จะมีช่วงความถี่ หรือแบนด์วิดธ์ที่สูงกว่าสายคู่บิดเกลียว สายมักจะทำด้วย ทองแดงอยู่แกนกลาง และถูกหุ้มด้วยพลาสติกจากนั้นก็จะมีชีลด์หุ้มอยู่อีกชั้นหนึ่งเพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน และหุ้มด้วยเปลือกนอกอีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้สายโคแอกเชียลนี้เป็นสายที่สามารถป้องกันสัญญาณรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ดี
สายโคแอกเชียลที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไปก็คือ สายที่นำมาใช้ต่อเข้ากับเสาอากาศทีวีที่ใช้ตามบ้านนั่นเอง
ข้อดีและข้อเสียของสายโคแอกเชียล
ข้อดี
-เชื่อมต่อได้ในระยะทางไกล
-ป้องกันสัญญาณรบกวนได้ดี
ข้อเสีย
-มีราคาแพง
-สายมีขนาดใหญ่
-ติดตั้งยาก

สายไฟเบอร์ออปติค
สายไฟเบอร์ออปติค หรือสายใยแก้วนำแสง เป็นสายที่มีลักษณะโปร่งแสง มีรูปทรงกระบอกภายในตันขนาดประมาณเส้นผมของมนุษย์แต่มีขนาดเล็กกว่า เส้นใยแก้วนำแสงจะเป็นแก้วบริสุทธิ์ โดยแกนกลางของเส้นใยนี้จะเรียกว่า คอร์ และจะถูกห้อมล้อมด้วยแคลดดิ้งและจากนั้นก็จะมีวัสดุที่ใช้สำหรับห่อหุ้มแคลดดิ้งหรือบัฟเฟอร์และตามด้วยวัสดุห่อหุ้มภายนอก
เครือข่ายคอมพิวเตอร์สามารถนำสายไฟเบอร์ออปติคมาใช้ในการส่งข้อมูลได้ซึ่งมักเรียกว่าออปติคไฟเบอร์  นอกจากสายไฟเบอร์ออปติคยังเป็นสายที่ทนต่อการรบกวนสัญญาณภายนอกได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นคลื่นความถี่วิทยุ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมถึงความปลอดภัยของข้อมูลซึ่งมีความปลอดภัยสูงกว่าสายเคเบิลทั่วไป สายไฟเบอร์ออปติคนี้จะมีอยู่หลายชนิดด้วยกันตามแต่ละคุณสมบัติ
ข้อดีและข้อเสียของสายไฟเบอร์ออปติค
ข้อดี
-มีอัตราค่าลดทอนของสัญญาณต่ำ
-ไม่มีการรบกวนของสัญญาณไฟฟ้า
-มีแบนด์วิดธ์สูงมาก
-มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
-มีความเป็นอิสระทางไฟฟ้า
-มีความปลอดภัยในข้อมูล
-มีความทนทานและมีอายุการใช้งานยาวนาน
ข้อเสีย
-เส้นใยแก้วมีความเปราะบาง แตกหักง่าย
-การเดินสายต้องระมัดระวังอย่าให้โค้งงอมาก
-มีราคาสูง เมื่อเทียบกับสายเคเบิลทั่วไป
-การติดตั้งจำเป็นต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

สื่อประเภทกระจายคลื่น
เป็นสื่อแบบไร้สาย การรับส่งข้อมูลโดยทั่วไปจะผ่านอากาศซึ่งภายในอากาศนั้นจะมีพลังงานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแพร่กระจายอยู่ทั่วไป โดยจะต้องมีอุปกรณ์ที่ไว้คอยจัดการกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านั้น ซึ่งปกติแล้วจะมีอยู่ 2ชนิดด้วยกัน
1.แบบ Directional เป็นแบบกำหนดทิศทางของสัญญาณ ด้วยการโฟกัสคลื่นนั้นๆ ซึ่งจำเป็นต้องทำการรับส่งด้วยความระมัดระวัง โดยจะต้องอยู่ในระนาบเดียวกัน
2.แบบ Omnidirection เป็นการกระจายสัญญาณรอบทิศทาง ซึ่งสัญญาณที่ส่งออกไปนั้น จะกระจายหรือแพร่ไปทั่วทิศทางในทางอากาศ ทำให้สามารถรับสัญญาณเหล่านี้ได้ด้วยการตั้งเสาอากาศ การกระจายสัญญาณแบบรอบทิศทาง เช่น วิทยุกระจายเสียง หรือการแพร่ภาพสัญญาณโทรทัศน์ ซึ่งทำได้โดยการติดตั้งสาอากาศทีวีเพื่อรับภาพสัญญาณโทรทัศน์ที่แพร่มาตามอากาศ
คลื่นวิทยุ (Radio Frequency)
การสื่อสารโดยอาศัยคลื่นวิทยุ จะกระทำโดยการส่งคลื่นไปยังอากาศเพื่อเข้าไปยังเครื่องรับวิทยุ โดยการใช้เทคนิคการกล้ำสัญญาณ ที่เรียกว่า มอดูเลต ด้วยการรวมคลื่นเสียงที่เป็นคลื่นไฟฟ้าความถี่เสียงรวมกันทำให้การสื่อสารด้วยวิทยุกระจายเสียงนั้นไม่จำเป็นต้องใช้สาย อีกทั้งยังสามารถส่งคลื่นได้ในระยะทางที่ไกลออกไปได้ตามประเภทของคลื่นนั้นๆ
ไมโครเวฟ (Terrestrial Microwave Transmission)
คลื่นโทรทัศน์และคลื่นไมโครเวฟจะสามารถทะลุผ่านไปยังชั้นบรรยากาศไปยังนอกโลก คลื่นโทรทัศน์จะมีช่วงความถี่ อยู่2ความถี่ที่นิยมใช้งานคือ คลื่น UHFและ VHF สำหรับคลื่นไมโครเวฟบนพื้นโลกจะเดินทางเป็นแนวเส้นตรงในระดับสายตามิได้โค้งไปตามเปลือกโลก ดังนั้นหากมีความต้องการส่งข้อมูลในระยะไกลออกไป จึงจำเป็นต้องมีจานรับส่งที่ทำหน้าที่ทวนสัญญาณเพื่อส่งต่อในระยะไกลออกไปได้  ข้อเสียของสัญญาณไมโครเวฟคือ สามารถถูกรบกวนได้ง่ายจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า รวมทั้งสภาพภูมิอากาศแปรปรวนก็จะส่งผลต่อระบบการสื่อสาร และเนื่องจากการสื่อสารด้วยไมโครเวฟบนพื้นดินนั้นจะมีข้อจำกัดเรื่องของภูมิประเทศ เช่นภูเขาบดบังสัญญาณ ดังนั้นจึงเกิดไมโครเวฟบนฟ้า ซึ่งเรียกว่า ดาวเทียม
โทรศัพท์เซลลูลาร์(Cellular Telephone)
ยุค 1G (First-General Mobile Phone: Analog Voice) เป็นโทรศัพท์เซลลูลาร์ระบบแรกที่นำมาใช้งาน ซึ่งเป็นการส่งสัญญาณไร้สายแบบ แอนาล็อก
ยุค 2G (Second-General Mobile Phone: Digital Voice) ได้มีการพัฒนาระบบเซลลูลาร์แบบดิจิตอลขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อสารกันได้ทั่วโลกและเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน
ยุค 3G (Third-General Mobile Phone: Digital Voice and Data) ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการสื่อสารของระบบโทรศัพท์เซลลูลาร์อย่างเห็นได้ชัด โทรสัพท์ไม่ใช่แค่เพียงใช้งานเพื่อสื่อสารพูดคุยกันเท่านั้นแต่สามารถเข้าถึงระบบเครือข่ายได้ เช่นการเชื่อมต่อแบบไร้สายเพื่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อดำเนินธุกรรมบนเครือข่ายและมีแนวโน้มในอนาคตก็จะเป็นแบนด์วิดธ์ที่สูงขึ้นเพื่อเข้าสู่ยุค 4G ต่อไป
อินฟราเรด (Infrared Transmission)
แสงอินฟราเรด มักนำมาใช้ควบคุมอุปกรณ์ไฟฟ้า ด้วยการใช้รีโมตคอนโทรล ลำแสงอินฟราเรดจะเดินทางในแนวเส้นตรง สามารถสะท้อนวัตถุผิวเรียบได้ช่วงระยะเพียงไม่กี่เมตร
สำหรับข้อเสียของอินฟราเรดก็คือ แสงอินฟราเรดก็คือ แสงอินฟราเรดไม่สามารถสื่อสารทะลุวัตถุทึบแสงหรือกำแพงที่กีดขวางได้
บลูธูท(Bluetooth)
เทคโนโลยีบลูธูท ถูกออกแบบมาเพื่อใช้เป็นวิธีใหม่ของการเชื่อมต่อหูฟังเข้ากับเซลล์โฟนได้สะดวกยิ่งขึ้น  มีข้อดี ตรงที่ลงทุนต่ำและใช้พลังงานต่ำ มีความแตกต่างเมื่อเทียบกับการสื่อสารด้วยแสงอินฟราเรดตรงที่สามารถสื่อสารทะลุสิ่งกีดขวางหรือกำแพงได้ อีกทั้งยังเป็นการสื่อสารไร้สายด้วยการแผ่คลื่นออกเป็นรัศมีรอบทิศทางด้วยคลื่นความถี่สูง  บลูธูท สามารถสื่อสารระหว่างอุปกรณ์หลายๆอุปกรณ์ด้วยกัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่งพิมพ์ แฟกซ์ และรวมถึงเครื่องพีดีเอ
ข้อกำหนดความต้องการของบลูธูทได้มีการระบุไว้ว่า
-ระบบต้องสามารถนำไปใช้งานได้ทั่วโลก
-รองรับการใช้งานทั้งข้อมูลและเสียง หรือมัลติมีเดียได้
-อุปกรณ์รับส่งคลื่นสัญญาณวิทยุ จะต้องใช้พลังงานไฟฟ้าต่ำและมีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถนำไปบรรจุไว้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่อย่าง โทรศัพท์เคลื่อนที่ หูฟัง หรือเครื่องพีดีเอได้
**แต่ปัญหาของบลูธูทก็มีในเรื่องของการสื่อสารกับอุปกรณ์หลายๆอย่างพร้อมกันในด้านของการซิงโครไนซ์ข้อมูลกับอุปกรณ์แต่ละตัวที่ยังทำงานได้ไม่ดีนัก**
WAP (Wireless Application Protocol)
WAP เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้สำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบไร้สาย โดย WAP เป็นโปรโตคอลที่ใช้งานบนอุปกรณ์พกพาต่างๆจะใช้ภาษา HTML เพื่อแสดงผลในรูปแบบของการเบราเซอร์เพื่อให้สามารถท่องไปยังอินเตอร์เน็ตได้
การพิจารณาตัวกลางส่งข้อมูล
การพิจารณาตัวกลางในการส่งข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาถึงเทคโนโลยีที่รองรับในอนาคต รวมถึงปัจจัยด้านอื่นๆประกอบ ซึ่งจะพิจารณาเกี่ยวกับด้านต่างๆดังนี้
1.ต้นทุน
2.ความเร็ว
3.ระยะทางและการขยาย
4.สภาพแวดล้อม
5.ความปลอดภัย
อุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ
                                                

 อุปกรณ์เครือข่ายอื่น ๆ

ฮับ (HUB)

                                         

    

          เป็นอุปกรณ์ช่วยกระจ่ายสัญญาณไปยังเครื่องต่างๆที่อยู่ในระบบ หากเป็นระบบเครือข่ายที่มี 2 เครื่องก็ไม่จำเป็นต้องใช้ฮับสามารถใช้สายสัญญาณเชื่อมต่อ ถึงกันได้โดยตรง  แต่หากเป็นระบบที่มีมากกว่า 2 เครื่องจำเป็นต้องมีฮับเพื่อทำหน้าที่เป็นตัวกลาง ในการเลือกซื้อฮับควรเลือกฮับที่มีความเร็วเท่ากับความเร็ว ของการ์ด เช่น  การ์ดมีความเร็ว  100 Mbps ก็ควรเลือกใช้ฮับที่มีความเร็วเป็น 100 Mbps ด้วย ควรเป็นฮับที่มีจำนวนพอร์ตสำหรับต่อสายที่เพียงพอกับ เครื่องใช้ในระบบ  หากจำนวนพอร์ตต่อสายไม่เพียงพอก็สามารถต่อพ่วงได้  แนะนำว่าควรเลือกซื้อฮับที่สามารถต่อพ่วงได้  เพื่อรองรับการขยายตัวในอนาคต

         Swich(สวิตซ์) คือ อุปกรณ์เครือข่ายที่ทำหน้าที่ใสเลเยอร์ที่ 2 Swich บางทีก็เรียกว่า Switching Hub (สวิตชิ่งฮับ) ซึ่งในช่วงแรกนั้นจะเรียกว่า Bridge (บริดจ์) เหตุผลที่เรียกว่าบริดจ์ในช่วงแรกนั้น เพราะส่วนใหญ่บริดจ์จะมีแค่สองพอร์ต และใช้สำหรับแยกคอลลิชันโดเมน ปัจจุบันที่เรียกว่า Swichเพราะหมายถึง บริดจ์ที่มีมากกว่าสองพอร์ตนั่นเอง


          Swich จะฉลาดกว่า Hub คือ Swich สามารถส่งข้อมูลที่ได้รับมาจากพอร์ตหนึ่งไปยังเฉพาะพอร์ตที่เป็นปลายทางเท่า นั้น ทำให้คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับพอร์ตที่เหลือสามารถส่งข้อมูลถึงกัน และกันได้ในเวลาเดียวกัน การทำเช่นนี้ทำให้อัตราการส่งข้อมูล หรือแบนด์วิธไม่ขึ้นอยู่กับจำนวนคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับ Swich คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะมีแบนด์วิธเท่ากับแบนด์วิธของ Swich


Gateway

            เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gateway
ในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch


Modem (โมเด็ม)

โมเด็มมาจากคำว่า MOdulator/DEModulator โดยแยกการทำงานออกเป็น Modulation คือการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญญาณอะนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ และ Demodulation คือการเปลี่ยนจากสัญญาณอะนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอะนาลอกอยู่ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้าของ โทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kbps ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น


     Router (เราท์เตอร์) คือ อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในเลเยอร์ 3 หรือเลเยอร์เครือข่าย Router จะฉลาดกว่า Hub และ Switch


                                                                                           Wireless_Router

          Router จะอ่านที่อยู่ (Address) ของสถานีปลายทางที่ส่วนหัว (Header) ของแพ็กเก็ตข้อมูล เพื่อใช้ในการกำหนด หรือเลือกเส้นทางที่จะส่งแพ็กเก็ตนั้นต่อไป ใน Router จะมีข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเส้นทางให้แพ็กเก็ต เรียกว่า Routing Table (เราติ้งเทเบิ้ล) หรือ ตารางการจัดเส้นทาง ข้อมูลในตารางนี้จะเป็นข้อมูลที่ Router ใช้ในการเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดไปยังปลายทาง ถ้าเส้นทางหลักเกิดขัดข้อง Router ก็สามารถเลือกเส้นทางใหม่ได้

Bridge
             อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ในเครือข่ายเพื่อต่อเครือข่ายภายใน (แม้ว่าจะใช้สายหรือโปรโตคอลในเครือข่ายที่ต่างกัน) เข้าด้วยกันเพื่อให้แลกเปลี่ยนข้อมูลกันได้ บริดจ์จะทำงานอยู่ในดาต้าลิงก์เลเยอร์ตามมาตรฐานของการสื่อสารระหว่าง คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ของ International Organization’s Standards Open Systems Interconnection (ISO/OSI) บริดจ์ทำหน้าที่จัดการกับข้อมูลที่ส่งไปมาระหว่าง 2 เครือข่าย ด้วยการอ่านตำแหน่งของข้อมูลทุกแพคเกตที่ได้รับ

Repeater คืออะไร
       1) ในเครือข่ายระบบโทรคมนาคม repeater เป็นอุปกรณ์รับสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic) หรือ Optical transmission เพื่อขยายสัญญาณแล้วส่งต่อไปยังขาต่อไปของตัวกลม Repeater เหนือกว่า attenuation เนื่องจากปราศจากผลของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า หรือการสูญเสียในสายส่ง ชุดของ Repeater ทำให้มีความเป็นไปได้ในการขยายสัญญาตลอดระยะทาง Repeater ใช้เซกเมนต์ในการติดต่อภายในของ LAN เพื่อใช้ในการเพิ่มและขยายการส่งของเครือข่ายแบบ WAN บนสายหรือไร้สาย
ในการสร้างความเข้มแข็งให้กับสัญญาณ repeater สามารถขจัด "noise" หรือสัญญาณที่ไม่ต้องการ ซึ่งทำได้ในระบบดิจิตอล ในขณะที่สัญญาณแบบอะนาล็อก ใช้การเพิ่มความเข้มแข็งโดยการขยายความสูงคลื่น จึงมีโอกาสที่ทำให้การขยายส่วนของ "Noise" เช่นเดียวกับสารสนเทศ สัญญาณแบบดิจิตอลขึ้นกับการมาหรือไม่มาของความต่างศักย์ ทำให้การกระจายเป็นไปอย่างรวดเร็วกว่าสัญญาณแบบอะนาล็อก
ในระบบสายส่ง repeater เป็นสิ่งธรรมดา ประกอบด้วยวงจรขยาย และคู่ของตัวแปลงสัญญาณ impedance ของสายต้องจับคู่ได้กับการนำเข้าและการส่งออกของ วงจรขยายเพื่อทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด การจับคู่ของ impedance จะลดผลสะท้อนของสัญญาณตลอดสาย
ในระบบการสื่อสารแบบไร้สาย repeater ประกอบด้วยวิทยุรับ ตัวขยาย, transmitter, isolator และเสาอากาศ 2 ชุด transmitter จะผลิตสัญญาณบนความถี่ที่ต่างจากสัญญารับ ที่เรียกว่า frequency offset เพื่อป้องกันความเข้มแข็งของสัญญาณ isolator จะเพิ่มการป้องกัน repeater ถ้าอยู่ในสถานที่ที่เหมาะสม เช่น บนอาคารสูง ภูเขา เพื่อความสามารถในการทำงานของเครือข่ายแบบไร้สาย โดยทำให้การสื่อสารมีความกว้างขวางขึ้น
ในระบบเครือข่ายแบบ Fiber optic repeater ประกอบด้วย Photocell ตัวขยาย light-emitting diode (LED) หรือ infrared-emitting diode (IRED) สำหรับแสงหรือสัญญาณ IR ที่ต้องการขยาย repeater ของ fiber optic ทำงานที่ระดับพลังงานที่ต่ำกว่าระบบไร้สาย ทำให้ง่ายกว่าและถูกกว่า แต่การการแบบต้องคำนึงถึงการลด "Noise"
        2) Bus repeater เป็นการเชื่อม bus ของคอมพิวเตอร์กับ bus ในคอมพิวเตอร์ตัวอื่น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น