วันจันทร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2556

บทที่ 8 โปรโตคอลแบบต่างๆ

โปรโตคอลแบบต่างๆ
โปรโตคอล(Protocol) หมายถึงข้อกำหนดหรือข้อตกลงในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรือภาษาสื่อสารที่ใช้เป็นภาษากลางในการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ด้วยกันการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกเชื่อมโยงกันไว้ในระบบจะสามารถติดต่อสื่อสารกันได้นั้นจำเป็นจะต้องมีการสื่อสารที่เรียกว่าโปรโตคอล(Protocol)เช่นเดียวกับคนเราที่ต้องมีภาษาพูดเพื่อให้สื่อสารเข้าใจกันได้โปรโตคอลช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์สองระบบที่แตกต่างกันสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจได้ คือข้อตกลงที่กำหนดเกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆทั้งวิธีการส่งและรับข้อมูลวิธีการตรวจสอบข้อผิดพลาดของการส่งและรับข้อมูลการแสดงผลข้อมูลเมื่อส่งและรับกันระหว่างเครื่องสองเครื่อง ดังนั้นจะเห็นได้ว่าโปรโตคอลมีความสำคัญมากในการสื่อสารบนเครือข่ายหากไม่มีโปรโตคอลแล้วการสื่อสารบนเครือข่ายจะไม่สามารถเกิดขึ้นได้
SMTP ย่อมาจาก Simple Mail Transfer Protocol คือ Protocol แบบ TCP/IP ที่ใช้ในการส่ง E-Mail ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ไปยังเครื่องบริการอื่น ๆ ซี่งสามารถส่งเมล์ไปยังผู้ใช้ได้ทั่วโลก มีข้อจำกัดในเรื่องของความสามารถในการส่ง e-mail ว่ามันสามารถทำได้แบบเป็นคิวเท่านั้น และ SMTP ส่วนใหญ่จะไม่ยอมให้คนนอกองค์กร หรือ IP ที่อยู่นอกองค์กรใช้งาน SMTP
FTP ย่อมาจาก File Transfer Protocol เป็น Protocol ที่ใช้ ในการส่งไฟส์ เป็นบริการคัดลอกข้อมูลข้ามเครือข่าย โดย ใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องลูกไปยังเครื่องแม่ข่าย (Server) ใช้ในการดาวน์โหลดข้อมูล จากเครื่องแม่ข่าย มาไว้ที่เครื่องลูก การใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งผู้ที่เป็นสมาชิก FTP Server และบุคคลภายนอก ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก โดยสามารถเข้าไปใช้บริการได้ (บางประเภท) ในนาม anonymous ปัจจุบันการใช้บริการ FTP สามารถทำได้ทั้งในรูปแบบ Text Mode ผ่าน Unix ด้วยคำสั่ง get, put หรือ Graphics Mode ผ่าน Microsoft Windows เช่น การใช้โปรแกรม WinFTP Light, CuteFTP และ ของฟรี FTP Open Source ที่ใช้กันบ่อย Filezilla

UDPคือ วิธีการสื่อสารหรือโปรโตคอลที่จำกัดจำนวนการบริการ เมื่อข่าวสารมีการแลกเปลี่ยน ระหว่างคอมพิวเตอร์ในเครือข่ายที่ใช้ Internet Protocol (IP) โดย UDP เป็นตัวเลือกหนึ่งของ Transmission Control Protocol (TCP) และใช้ร่วมกับ IP บางครั้งเรียกว่า UDP/IP ซึ่ง UDP เหมือนกับ TCP ในการใช้ IP ในการดึงหน่วยข้อมูล (เรียกว่า datagram) จากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
Telnet   เป็นวิธีการติดต่อของผู้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ที่ผู้ติดต่อได้รับอนุญาตในทางเทคนิค telnet เป็นคำสั่งของผู้ใช้ภายใต้โปรโตคอล TCP/IP เพื่อเข้าถึงคอมพิวเตอร์ในระยะไกล โปรโตคอลของเว็บ หรือ Hypertext Transfer Protocol และ File Transfer Protocol ยินยอมให้ผู้ใช้เรียกไฟล์ที่เจาะจงจากคอมพิวเตอร์ระยะไกล แต่ไม่ได้ logon ในฐานะผู้ใช้ของคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น โดยการใช้ telnet ผู้ใช้สามารถ logon ในฐานะผู้ใช้ธรรมดาที่มีสิทธิในการเจาะจงโปรแกรมประยุกต์ และข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์
DNSย่อมาจาก Domain Name System วิธีการที่ใช้เมื่อการตั้งชื่อให้แก่คอมพิวเตอร์แม่ข่ายในอินเทอร์เน็ต และงานให้บริการไดเรกทอรีที่ใช้เมื่อหาชื่อเหล่านั้น ชื่อคอมพิวเตอร์แม่ข่ายแต่ละเครื่อง เช่น www.google.com จะตรงกับตัวเลขฐานสิบยาวๆ จำนวนหนึ่งที่เรียกว่า IP address (203.155.29.5) Domain name เหล่านี้จำง่ายกว่า IP address
SNMPย่อมาจาก Simple Network Management Protocol ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่อยู่ระดับบนในชั้นการปะระยุกต์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโปรโตคอล TCP/IP ในการบริการและจัดการเครือข่ายต้องใช้อุปกรณ์ต่างๆ มีส่วนของการทำงานร่วมกับระบบจัดการเครือข่าย ซึ่งเราเรียกว่า เอเจนต์ (Agent) เอเจนต์เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมอยู่ในเครือข่ายโดยมีคอมพิวเตอร์หลักในระบบหนึ่งเครื่องเป็นตัวจัดการและบริหาร เครือข่ายหรือเรียกว่า NMS-Network Management System
TFTP     เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP (User Datagram Protocol) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสหรือ Password แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้แล้วเท่านั้น แต่จะไม่มีฟังก์ชั่นอื่นๆ เช่น การแสดงรายชื่อไฟล์ , การเปลี่ยนไดเร็คทอรี เป็นต้น
IGMP    ย่อมาจาก (Internet Group Mmmanagement Protocol) ทำหน้าที่แจ้งให้เราท์เตอร์เกี่ยวกับกลุ่มของเครื่องหมายไอพีที่เป็นมัลติคาสต์ (Multicast)
ICMPย่อมาจาก (Internet Control Massage Protocol) เป็นโปรโตคอลควบคุมและรายงานความผิดพลาดระหว่าง host server กับ gateway บนอินเตอร์เน็ต ICMP ใช้ตารางข้อมูลของ Internet Protocol แต่การสร้างข้อความทำโดยซอฟต์แวร์ของ IP และไม่ปรากฏโดยตรงกับผู้ใช้ Internet Control Message Protocol (ICMP) คือ โพรโทคอล TCP/IP ที่อนุญาตให้คอมพิวเตอร์บนเครือข่ายสามารถใช้ข้อมูลข้อผิดพลาดและสถานะร่วม กัน ICMP มักใช้สำหรับการแก้ไขปัญหา เช่น เครื่องมือ Ping จะใช้ ICMP สำหรับการแก้ไขปัญหา TCP/IPเมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่า ICMP ให้เปิด Windows Firewall with Advanced Security
IPย่อมาจาก (Internet Protocol) เป็นวิธีการ (protocol) ที่ใช้ในการส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังเครื่องอื่น ในอินเตอร์เน็ต (Internet) คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง รู้จักกันในฐานะของ Host บน Internet ต้องมีที่อยู่อย่างน้อยหนึ่งที่อยู่ (address) ซึ่งไม่ซ้ำกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใน Internet เมื่อมีการส่งและรับข้อมูล (เช่น อี-เมล์) ข้อความจะถูกแบ่งเป็นชุดข้อมูล เรียกว่า แพ็คเกต (Packet) แต่ละชุดจัดจะเก็บที่อยู่ของผู้ส่งและผู้รับ การส่งชุดข้อมูลจะส่งไปที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น Gateway เมื่อเครื่อง Gaterway อ่านที่อยู่ของปลายทางแล้ว จึงส่งต่อชุดข้อมูลไปยัง adjacent Gateway ซึ่งจะอ่านที่อยู่ปลายทาง และส่งอ่านเครือข่าย Internet จนกระทั่งมีเครื่อง gateway รู้ว่าชุดข้อมูลนั้น เป็นของคอมพิวเตอร์ ภายในกลุ่มใด จากนั้น เครื่อง Gateway จึงจะส่งชุดข้อมูลไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่ตามที่ระบุ
จากการที่ข้อมูลได้รับเป็นชุดข้อมูลหลาย ๆ ชุด โดยการส่งอาจจะใช้การแยกส่งไปตามเส้นทางต่าง ๆ ข้ามเครือข่ายอินเตอร์เน็ท (จากการส่งโดยการแยกข้อมูลเป็นชุดข้อมูล) เมื่อไปถึงปลายทาง อาจจะมีลำดับที่ไม่ตรงกับลำดับจากต้นทาง ดังนั้น IP จะส่งต่อไปยัง TCP (Transmission Control Protocol) เพื่อจัดเรียงลำดับใหม่ให้ถูกต้อง IP เป็น โปรโตคอลแบบ Connection less หมายความว่า ไม่จำเป็นต้องมีการสร้างการเชื่อมต่อกับจุดปลายในระหว่างการสื่อสาร แต่ละชุดข้อมูลเดินทางโดยอิสระในระบบอินเตอร์เน็ต ปราศจากความเกี่ยวข้องกับชุดข้อมูลอื่น ๆ (เพราะหน้าที่ในการจัดลำดับที่ถูกเป็นของ TCP ซึ่งเป็น Protocol แบบ connection-oriented ที่ทำหน้าที่รักษาลำดับชุดข้อมูล ของข้อความหรือข้อมูลนั้น) ในแบบจำลองการสื่อสาร OSI (Open System Interconnection communication model) IP เป็นเลเยอร์ 3 คือ เลเยอร์เครือข่าย (Networking Layer)IP ที่มีการใช้อย่างกว้างขวางในขณะนี้คือ Internet Protocol version 4 (IPV4) อย่างไรก็ตาม IPV6 กำลังเริ่มมีการใช้ IPV6 มีที่อยู่ที่ยาวกว่า ทำให้รองรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ทได้มากขึ้น ซึ่ง IPV6 ได้รวมเอาความสามารถของ IPV4 ไว้ด้วย ดังนั้นเครื่อง Server ที่สนับสนุนชุดข้อมูลของ IPV6 จะสามารถสนับสนุน IPV4 ด้วย
ARPย่อมาจาก(Address Resolution Protocol) เป็นโปรโตคอลสำหรับการจับคู่ (map) ระหว่าง Internet Protocol address (IP address) กับตำแหน่งของอุปกรณ์ในระบบเครือข่าย เช่น IP เวอร์ชัน 4 ใช้การระบุตำแหน่งขนาด 32 บิต ใน Ethernet ของระบบใช้การระบุ ตำแหน่ง 48 บิต (การระบุตำแหน่งของอุปกรณ์รู้จักในชื่อของ Media Access Control หรือ MAC address) ตาราง ARP ซึ่งมักจะเป็น cache จะรักษาการจับคู่ ระหว่าง MAC address กับ IP address โดย ARP ใช้กฎของโปรโตคอล สำหรับการสร้างการจับคู่ และแปลงตำแหน่งทั้งสองฝ่าย
RARPย่อมาจาก (Reverse Address Resolection Protocol) เป็นโปรโตคอล ซึ่งเครื่องทางกายภาพ ในเครือข่าย LAN สามารถขอเรียนรู้ IP Address จากเครื่องแม่ข่าย gateway หรือตาราง Address Resolution Protocol ผู้บริหารเครือข่ายสร้างตารางใน gateway router ของเครือข่าย LAN ที่ใช้จับคู่ address ของเครื่องทางกายภาพ (หรือ Media Access Control address) ที่ตรงกับ Internet Protocol address เมื่อมีการติดตั้งเครื่องใหม่ โปรแกรมลูกข่ายของ RARP จะขอ RARP server จาก routerให้ส่ง IP address มาให้ สมมติว่ามีการตั้งค่าในตาราง router แล้ว RARP server จะส่งกลับ IP address ไปที่เครื่องซึ่งจะเก็บไว้สำหรับการใช้ต่อไป RARP มีให้กับเครือข่าย LAN แบบ Ethernet, Fiber Distributed-Data Interface และ Token ring


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น